Category Archives: อื่นๆ

สมรรถนะบรรณารักษ์/ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จากการกิจกรรมการจัดการความรู้ของฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ครั้งที่ 2
เรื่อง “สมรรถนะของบรรณารักษ์/ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ”
ในวันที่ 27 เมษายน 2564 เวลา 13.00 – 14.30 น. และวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 เวลา 14.30 – 16.00 น.
สามารถสรุปเป็นสมรรถนะบรรณารักษ์/ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดกลาง ดังนี้

กิจกรรม “การลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Aleph”

กิจกรรม “การลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Aleph”
ครั้งที่ 1 วันที่ 12 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุม 702 ชั้น 7 สำนักหอสมุดกลาง
ครั้งที่ 2 วันที่ 11 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องประชุม 702 ชั้น 7 สำนักหอสมุดกลาง

 

กิจกรรม “เรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ค่านิยมองค์กร: WE CARE”

กิจกรรม “เรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ค่านิยมองค์กร: WE CARE” ดังนี้
๑. วันพุธที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๙ ณ ห้องฝึกอบรม ๑๐๒ ชั้น ๑ สำนักหอสมุดกลาง
กลุ่มที่ ๑ เวลา ๐๘.๓๐ – ๐๙.๓๐ น.
กลุ่มที่ ๒ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๑.๐๐ น.
กลุ่มที่ ๓ เวลา ๑๒.๓๐ – ๑๓.๓๐ น.
กลุ่มที่ ๔ เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.
๒. วันอังคารที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๙ ณ หอสมุด มศว องครักษ์ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.

OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA

 

การจัดการความรู้เรื่อง การดำเนินโครงการกิจกรรม 5ส

การจัดการความรู้เรื่อง การดำเนินกิจกรรม 5ส  เป็นผลที่ได้มาจากบุคลากรของห้องสมุดได้ตอบแบบประเมินผลความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรม 5ส ปีงบประมาณ 2557  ทั้งในเรื่องของการตรวจประเมินและการจัด Big Cleaning Day ซึ่งมีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์ ในส่วนของคณะกรรมการเองนั้น ก็ได้รับประสบการณ์ในการดำเนินกิจกรรม จึงมีความคิดว่า ควรจะรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป

วิธีการจัดการได้มาซึ่งความรู้ : มาจากผลประเมินและข้อเสนอแนะที่มีจำนวนความถี่มากที่สุด  และมาจากการร่วมแสดงความคิดเห็นของกรรมการเมื่อวันที่ 19  กันยายน  พ.ศ.2557 โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

1. การคัดเลือกคณะกรรมการ
1.1 ควรมีการหมุนเวียนบุคลากรงานต่างๆ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการ และสร้างความเข้าใจในกิจกรรม 5ส ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ควรจะต้องมีคณะกรรมการชุดเดิมจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยเพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดประสบการณ์ แนวทางในการดำเนินงาน ส่งต่องาน รวมถึงในคำแนะนำต่างๆ
1.2 บุคลากรที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ ควรมีความเอาใจใส่ในการเข้าร่วมวางแผนและดำเนินการกิจกรรมต่างๆ รวมถึงมีจรรยาบรรณในการเป็นคณะกรรมการ เช่น มีความเป็นกลาง และรักษาความลับ เป็นต้น

2. งบประมาณ
หน่วยงานควรให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการกิจกรรม 5ส  และจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ โดยเฉพาะการจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ซึ่งเป็นกิจกรรมใหญ่ที่อาจจัดมากกว่า 1 ครั้งต่อปี และบุคลากร
ทุกคนต้องเข้าร่วม และกิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้แรงงานเพื่อทำความสะอาด ดังนั้น จะต้องมีการเตรียมอาหารและเครื่องดื่มที่เหมาะสมและเพียงพอให้กับบุคลากรทุกคน

3. วิธีการตรวจประเมิน
     3.1 การตรวจประเมินแบบไม่แจ้งวันล่วงหน้า จะช่วยให้กรรมการได้มองเห็นสภาพที่แท้จริงของพื้นที่ต่างๆซึ่งนับว่าเป็นวิธีการที่ดี เนื่องจากหากระบุวันเวลาตรวจล่วงหน้า บุคลากรจะจัดเตรียมพื้นที่ของตนเพื่อรับการตรวจประเมินทำให้พื้นที่มีความสะอาดและความเป็นระเบียบมากกว่า แต่ทั้งนี้ คณะกรรมการจะต้องรักษาความลับและไม่แจ้งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งทราบ
3.2 การแบ่งสายตรวจประเมิน จะช่วยให้เกิดความรวดเร็วและความคล่องตัวในการตรวจประเมิน รวมถึงไม่มีผลกระทบต่อคณะกรรมการที่ปฏิบัติงานบริการทรัพยากรสารสนเทศซึ่งเป็นงานที่มีตารางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ทั้งนี้ในการแบ่งสายตรวจประเมินแต่ละครั้งนั้น ควรมีการสลับคณะกรรมการผู้ตรวจเพื่อการได้รับมุมมองหรือความคิดใหม่ๆ จากการตรวจแต่ละพื้นที่
3.3 ความถี่ในการตรวจประเมินที่เหมาะสม คือ 3 ครั้ง/ปี เนื่องจากไม่มากหรือน้อยเกินไป และทำให้เกิดการดูแลพื้นที่ได้อย่างสม่ำเสมอ
3.4 ประเด็นที่มุ่งเน้นในการตรวจประเมิน ยังคงพิจารณา 2 เรื่อง ได้แก่
3.4.1 ความสะอาดของพื้นที่ โดยเน้นพื้นที่ส่วนร่วมและพื้นที่บริการ
3.4.2 กระบวนการทำงาน ซึ่งเป็นการตรวจประเมินในเชิงคุณภาพที่ต้องค่อยๆ พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยในประเด็นนี้ควรมีแนวทางในการประเมินที่วัดผลชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น มีการพัฒนาคู่มือหรือปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นหรือไม่

4.
การจัดกิจกรรม Big Cleaning Day
4.1 ความถี่ในการดำเนินการที่เหมาะสม คือ 1-2 ครั้ง/ปี ตามความเหมาะสมของพื้นที่และกิจกรรมที่จะดำเนินการ  รวมถึงควรปิดบริการเพื่อให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
4.2 ในการกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการและการวางกำลังคนนั้น อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการแต่ละชุดพิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งนี้อาจมีการเชิญชวนนิสิตในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยจัดเป็นกิจกรรมจิตอาสาและมีประทับตรากิจกรรมให้
4.3 แนวปฏิบัติ ควรดำเนินการดังนี้
4.3.1 มีการกำหนดขอบเขตการดำเนินงานที่ชัดเจน รวมถึงแจ้งให้บุคลากรทุกคนรับทราบและสร้างความเข้าใจที่ตรงกันเพื่อให้การดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน
4.3.2 จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้เพียงพอ โดยเฉพาะผ้าขี้ริ้ว แปรงปัดฝุ่น หน้ากาก ถุงมือ และถังน้ำ
4.3.3 จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มให้เพียงพอ

คณะกรรมการโครงการกิจกรรม 5ส
ประจำปีงบประมาณ 2557

 

บริการอย่างไรให้ประทับใจ

1. ด้านการให้บริการ
1.1 บริการสืบค้นข้อมูล : ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลตรงกับความต้องการและสามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง

สอบถามความต้องการของผู้ใช้ให้ชัดเจนเพื่อความถูกต้อง และตรงประเด็นให้การค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ รวมถึงให้คำแนะนำวิธีการค้นหาข้อมูลที่เน้นการให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้ และสามารถค้นหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นหรือต่อยอดการค้นหาข้อมูลตามที่ต้องการได้ต่อไป

1.2 คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ใช้เป็นหลัก

1) ชี้แหล่งข้อมูลสารสนเทศอื่นๆ ให้ผู้ใช้นอกเหนือจากที่มีภายในห้องสมุด
2) เสนอทางเลือกให้กับผู้ใช้ในกรณีมีช่องทางเลือกมากกว่า 1 ช่องทาง
3) ช่วยเหลือผู้ใช้บริการอย่างเต็มที่และมีความยืดหยุ่นในการให้บริการตามความเหมาะสม

1.3 บริการด้วยมาตรฐานเดียวกัน

     1) ผู้ให้บริการทุกคนจะต้องทราบระเบียบ ขั้นตอน และแนวทางในการให้บริการที่ตรงกัน เพื่อการให้บริการเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่งผลให้ผู้ใช้ทุกคนได้รับการบริการตามมาตรฐานเดียวกันและไม่ทำให้เกิดความสับสนกับผู้ใช้ ทั้งนี้จะต้องมีการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการทุกคนอย่างสม่ำเสมอเพื่อทราบถึงระเบียบ ขั้นตอนของการให้บริการแต่ละบริการ รวมทั้งข่าวสารที่เป็นปัจจุบันในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับบริการของสำนักหอสมุดกลาง การสื่อสารดังกล่าวอาจอยู่ในรูปของบอร์ดประชาสัมพันธ์ข่าวสาร แฟ้มรวมคู่มือ/ขั้นตอน/ของการบริการต่างๆ หรือเว็บไซต์ ที่ผู้ให้บริการทุกคนสามารถรับทราบหรือติดตามได้

     2) ให้ความเสมอภาคในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการทุกระดับโดยไม่คำนึงถึงฐานะ ตำแหน่ง เชื้อชาติ ศาสนา หรือสังคม

1.4 บริการฉับไว ถูกต้อง

สืบเนื่องจากการมีมาตรฐานในการให้บริการ เมื่อผู้ให้บริการทุกคนทราบระเบียบ ขั้นตอน และแนวทางในการให้บริการแต่ละบริการที่ตรงกัน การให้บริการก็จะฉับไวและถูกต้อง

1.5 บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ให้ได้มากที่สุดตามขอบเขตที่เหมาะสม

หลีกเลี่ยงการส่งต่อผู้ใช้ให้เดินไปมาตามจุดต่างๆ หากบริการใดที่สามารถอำนวยความสะดวกในการบริการได้จุดเดียว ก็ควรปฏิบัติ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะต้องติดต่อจุดที่ต้องการส่งต่อผู้ใช้ให้รับทราบและมีผู้รอรับก่อนที่ผู้ใช้จะเดินไป

1.6 เอาใจใส่ผู้ใช้บริการ

     1) หมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้ใช้เพื่อให้บริการได้อย่างเหมาะสม เช่น ผู้ใช้ที่ไม่ถนัดในการค้นหาข้อมูลจากเครื่องสืบค้น ผู้ใช้หาหนังสือไม่เจอบนชั้น เป็นต้น ให้รีบเข้าไปช่วยเหลือทันที ไม่แบ่งแยกชนชั้น ไม่เลือกปฏิบัติ

     2) การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องนึกถึงความรู้สึกของผู้ใช้ที่มาใช้บริการ ซึ่งมุ่งหวังได้รับความสะดวก รวดเร็วและถูกต้อง ด้วยไมตรีจากผู้ให้บริการ ติดตามงานและให้ความสนใจต่อการให้บริการอย่างเต็มที่

1.7 มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใช้

     1) มีมนุษย์สัมพันธ์ดี หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส พร้อมกล่าวทักทายผู้ใช้บริการ สื่อสารกับผู้ใช้บริการด้วยคำพูด น้ำเสียง หรือกิริยาท่าทางที่สุภาพเป็นมิตรเป็นกันเอง ใส่ยิ้มลงไปในน้ำเสียง แสดงให้ผู้ใช้รับรู้ถึงความเต็มใจและความกระตือรือร้นที่จะให้บริการ

     2) บริการใดที่ต้องใช้เวลาจะต้องมีการติดตามหรือส่งต่อการให้บริการจนสำเร็จลุล่วง หากไม่สามารถทำได้รวดเร็วอาจด้วยระเบียบขั้นตอนหรือเหตุผลใดใด ต้องชี้แจงให้ผู้ใช้ทราบด้วยวาจาที่สุภาพ และแสดงความตั้งใจจะช่วยเหลือ

2. ด้านผู้ให้บริการ

2.1 มีบุคลิกภาพและการแต่งกายที่เหมาะสม
2.2 ไม่ควรพูดคุยกันเองขณะปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงไม่ควรคุยกันเสียงดังจนรบกวนการอ่านและการค้นคว้าของผู้ใช้
2.3 สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี
2.4 มีใจรักงานบริการและมีความซื่อสัตย์สุจริต

3. ด้านสถานที่

3.1 จัดบรรยากาศพื้นที่การให้บริการให้น่าสนใจ ชวนให้น่าเข้าใช้บริการ
3.2 พื้นที่และวัสดุอุปกรณ์ที่ให้บริการมีความสะอาดเรียบร้อย
3.3 มีป้ายประชาสัมพันธ์อำนวยความสะดวกในการใช้บริการ
3.4 วัสดุอุปกรณ์ในส่วนของผู้ให้บริการ นอกจากจะสะอาดสะอ้านแล้ว ควรจะจัดวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการหยิบใช้ซึ่งจะส่งผลต่อการให้บริการที่รวดเร็ว

4. ด้านการประเมินผล

ควรมีการติดตามและประเมินผลความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการเป็นระยะ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและผลสะท้อนกลับว่ามีบริการส่วนใดต้องปรับปรุงแก้ไข หากมีการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ใช้บริการจะส่งผลให้ผู้ใช้บริการรู้สึกว่าห้องสมุดให้ความสำคัญกับผลการประเมินและตัวผู้ใช้บริการ