S
SWU Discovery
ระบบสืบค้น
SWU Discovery คือ เครื่องมือสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การสืบค้นครอบคลุมอะไรบ้าง?
- ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่มีให้บริการในห้องสมุด
- ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
- ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ที่ห้องสมุดจัดให้บริการ: ได้แก่ ทรัพยากรหรือฐานข้อมูลที่บอกรับ ซื้อ พัฒนาขึ้นเอง หรือที่มีสิทธิ์เข้าใช้ ซี่งจะให้เอกสารฉบับเต็มตามสิทธิ์ ขอบเขต หรือประเภทของฐานข้อมูลที่บอกรับ
- ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์จากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก: ทรัพยากรในกลุ่มนี้เป็นทรัพยากรประเภท Open Access ซึ่งจะแสดงผลที่เน้นบทคัดย่อมากกว่าฉบับเต็ม
กรณีสืบค้นทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์แต่ไม่สามารถเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มได้ ต้องทำอย่างไร?
- แจ้งรายละเอียดของทรัพยากรฯ ที่บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าเพื่อตรวจสอบว่าสามารถเข้าถึงได้จากแหล่งใดได้แล้วห้องสมุดจะดำเนินการช่วยเหลือต่อไป (เฉพาะกรณีที่สามารถดำเนินการได้)
- สามารถสืบค้นผ่านโฮมเพจของสำนักหอสมุดกลางที่ https://lib.swu.ac.th
Sign in สำหรับสมาชิก
คลิกที่ SWUDIs Sign in โดยใช้รหัสบัวศรี(กรณีที่เป็นสมาชิกอื่นๆ เช่น สมาชิกสมทบ ให้เลือก Sign in ด้วย Library ID โดยใส่เลขประจำตัวสมาชิกในช่อง Name และใส่รหัส 1234 ในช่อง Password)
เมื่อ Sign inเรียบร้อยแล้วจะปรากฎชื่อด้านบนมุมขวามือ
วิธีการสืบค้นทรัพยากร
ทางเลือกสำหรับการสืบค้นทรัพยากร
- ช่องใส่คำค้น (Basic Search): สืบค้นพื้นฐานด้วยคำสำคัญ และเลือกกลุ่มทรัพยากรที่ต้องการ
- Advanced Search: สืบค้นแบบเจาะจงช่องทาง เช่น สืบค้นจากชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หัวเรื่อง เลขบาร์โค้ด รวมถึงการเชื่อมคำค้นต่างช่องทาง เช่น ต้องการสืบค้นหนังสือที่มีชื่อเรื่องและผู้แต่งที่ ต้องการ ไปจนถึงการเลือกกลุ่มทรัพยากร ประเภททรัพยากร ปีพิมพ์ และอื่นๆ
- Browse: สืบค้นตามลำดับอักษร กรณีอยากทราบผลงานของชื่อผู้แต่งคนหนึ่ง หรือต้องการค้นจาก ชื่อเรื่องที่ได้มา
- New Search: สืบค้นคำใหม่
- eJournals และ eBooks: เป็นการไล่เรียงดูวารสารอิเล็กทรอนิกส์หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตาม รายชื่อ กลุ่มสาขาวิชา หรือแหล่งที่ให้บริการ
Basic Search
- พิมพ์คำค้นที่ต้องการ
- เลือกกลุ่มทรัพยากรที่ต้องการ ได้แก่
All Resources = ค้นทรัพยากรทั้งหมดของห้องสมุด
e-Resources = ค้นเฉพาะฐานข้อมูลออนไลน์/ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์
Library Catalog = ค้นเฉพาะทรัพยากรที่ให้บริการที่ห้องสมุด
SWU Repository = คลังสถาบัน
SWU e -Journals System = OJS วารสารสถาบัน - คลิก Search
หากต้องการดูรายละเอียดของแต่ละรายการ : ให้คลิกชื่อรายการที่ต้องการ จะปรากฎหน้าต่างรายการขึ้นมา
หน้าจอจะปรากฎหน้าต่างรายการที่เลือก
หากต้องการทราบว่าทรัพยากรสารสนเทศ อยู่ที่ห้องสมุดใดให้ดูที่ Locations Library: ห้องสมุดที่ให้บริการ ได้แก่
- Central Library (SWU) = สำนักหอสมุดกลาง
- Ongkharak Library = ห้องสมุดองครักษ์
- Warehouse = คลังหนังสือใช้น้อย (ห้องสมุดองครักษ์)
- Faculty of Medical Library = ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์
- Faculty of Pharmacy = ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์
- Bhodivijalaya Library = ห้องสมุดโพธิวิชชาลัย
- Panyananthaphikkhu Library = ห้องสมุดศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ (โรงพยาบาลชลประทาน)
หากต้องการทรัพยากรเล่มใดให้คลิกที่รายการนั้น
Locations = ห้องสมุดที่ให้บริการ สถานที่จัดเก็บ เลขเรียกหนังสือ และสถานภาพหนังสือ สถานภาพของทรัพยากรที่ควรทราบ ได้แก่
- On Shelf = อยู่บนชั้น (หรืออยู่มุมจัดแสดงหนังสือใหม่ ชั้น 2)
- Reshelving = กำลังรอการขึ้นชั้น
- Cataloging = อยู่ระหว่างดำเนินการทางงานเทคนิค หากต้องการขอดูตัวเล่มภายในห้องสมุด ติดต่อได้ที่เคาน์เตอร์บริการตอบคำถามฯ ชั้น 2 จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-15.00 น. แสดงกำหนดส่ง = มีผู้ยืมออก (หากต้องการจอง ให้ sign in และคลิก Hold)
- Requested = มีผู้จองไว้ อยู่ในระหว่างรอผู้จองมารับหนังสือ
- On Shelf = อยู่บนชั้น (หรืออยู่มุมจัดแสดงหนังสือใหม่ ชั้น 2)
ตัวอย่าง 1 หนังสือ(Book) ที่ให้บริการที่ห้องสมุด
ตัวอย่าง 2 บทความวารสาร(Article) ที่ให้บริการที่ห้องสมุด
ตัวอย่าง 3 บทความวารสารอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่าง 4 วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
การตรวจสอบข้อมูลสมาชิกและบริการอัตโนมัติ (My Library Card)
สมาชิกสามารถตรวจสอบข้อมูลสมาชิกและใช้บริการอัตโนมัติต่างๆ (My Library Card) ไม่ว่าจะ เป็นการยืมต่อ (Renew) การจอง (Request) การจัดเก็บรายการการสืบค้น (My Favorites) และบริการ แจ้งเตือนอื่นๆ ผ่านระบบ SWUDiscovery บนเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดกลางที่ https://lib.swu.ac.th ซึ่ง แต่ละบริการมีวิธีการดังนี
การตรวจสอบข้อมูลสมาชิก
หน้าจอแสดงข้อมูลสมาชิก
การยืมหนังสือต่ออัตโนมัติ(Renew)
ขั้นตอนการยืมหนังสืออัตโนมัติ
ข้อกำหนดในการยืมหนังสือต่ออัตโนมัติ
- ***ต้องทำการยืมหนังสือต่ออัตโนมัติล่วงหน้า 1 วัน ก่อนวันกำหนดส่งหนังสือ***
- เฉพาะหนังสือเท่านั้น ทั้งนี้หนังสือที่ยืมต่อได้จะต้องไม่มีผู้ใดจองไว้และเป็นหนังสือที่ไม่เกินวันกำหนดส่ง
- สามารถยืมต่อด้วยตนเองได้เล่มละ 1 ครั้งเท่านั้น
- สมาชิกสามารถยืมหนังสือต่ออัตโนมัติได้จะต้องไม่มีหนังสือค้างส่งหรือมีภาระหนี้สินกับทางห้องสมุดและต้องต่ออายุการเป็นสมาชิกแล้ว
- กรณีที่การเป็นสมาชิกหมดอายุก่อนวันกำหนดส่ง สมาชิกจะไม่สามารถยืมหนังสือต่อด้วยตนเองได้สำหรับนิสิต ก่อนวันปิดภาคเรียน 14 วันจะไม่สามารถยืมต่อด้วยตนเองได้
- กรณีที่นำหนังสือที่ยืมต่ออัตโนมัติเข้ามาอ่านในห้องสมุด ขอให้นำหนังสือดังกล่าวไปประทับวันกำหนดส่งให้ถูกต้องที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 2
การจองหนังสือผ่านระบบอัตโนมัติ(Request)
เมื่อพบว่าหนังสือที่ต้องการมีผู้ยืมออก สมาชิกสามารถใช้บริการจองผ่านระบบอัตโนมัติได้
ขั้นตอนการจองผ่านระบบอัตโนมัติ
เมื่อสมาชิกทำการ Sing in เข้ามาในระบบเพื่อทำการสืบค้นและพบว่าหนังสือที่ต้องการมีผู้ยืมออก ซึ่งจะปรากฏวันกำหนดส่งและสถานะ Hold ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
เมื่อทำรายการสำเร็จจะแสดงหน้าต่างตามภาพ
กลับไปตรวจสอบหนังสือที่จองไว้ใน My Library Card > Requests
หากหนังสือที่จองถูกคืนแล้วจะแสดงในระบบ
ข้อกำหนดในการจองหนังสือผ่านระบบอัตโนมัติ
- จองได้เฉพาะหนังสือที่มีผู้ยืมออกเท่านั้น
- สมาชิกสามารถจองหนังสือได้คนละ 3 รายการ
- สมาชิกต้องมาติดต่อที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 2 เพื่อยืมหนังสือที่จองไว้ภายใน 7 วัน (นับจากวัน ที่ห้องสมุดได้รับตัวเล่มคืน)
- การจองหนังสือผ่านระบบอัตโนมัติจะไม่สามารถทำได้ ในกรณีมีหนังสือค้างส่งหรือมีภาระหนี้สินกับทางห้องสมุด ไม่ได้update การเป็นสมาชิก จองเกิน 3 รายการ และจองก่อนวันปิดภาคเรียน 14 วัน
สิ่งที่สำคัญก่อนที่จะเริ่มกำสืบค้น คือ การกำหนดคำค้น ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มความเข้าใจที่ชัดเจนใน เรื่องที่ต้องการ เพื่อให้ได้คำค้นที่ตรงประเด็น รวมถึงคำค้นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เมื่อเริ่มการสืบค้น น้อยคนที่จะทราบชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่งที่ถูกต้องสมบูรณ์ ดังนั้นควรใช้วิธีการสืบค้นด้วย คำสำคัญ (Keyword) เว้นแต่ว่าต้องการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ทราบชื่อเรื่องหรือชื่อผู้แต่งที่ถูกต้องแล้ว จึงควรใช้วิธีการสืบค้นตามลำดับอักษร (Alphabetical)
ข้อแนะ นำในการกำหนดคำค้นโดยใช้คาสำคัญ (Keyword)
คำสำคัญ คือ คำหรือกลุ่มคำที่เป็นประเด็นหลักของเรื่องที่ต้องการที่ปรากฏในส่วนต่ำงๆ ของรายการ บรรณานุกรม ไม่ว่าจะเป็นชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ชื่อชุด หรือทุกส่วน โดยผู้ใช้สามารถเลือกได้วาต้องการ สืบค้นจากส่วนใด การสืบค้นแบบนี้ ไม่จำเป็นต้องทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง หรือชื่อชุด ที่ถูกต้องหรือ สมบูรณ์ วิธีนี้จึงเป็นการสืบค้นที่ยืดหยุ่นที่สุด เหมาะกับการเริ่มต้นสืบค้น
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทาให้ไม่พบผลการค้นที่ต้องการ
- พิมพ์คาค้นเป็นประโยคยาวๆ ทาให้ไม่พบข้อมูล
วิธีแก้ไข พิมพ์คำค้นเป็นคำหรือกลุ่มคำ - ใช้คาค้นที่ไม่ใช่ประเด็นหลักหรือประเด็นสำคัญของเรื่อง ทาให้ผลการค้นที่ได้ไม่ตรงกับ ความต้องการเท่าที่ควร
วิธีแก้ไข พิมพ์คำค้นที่เป็นประเด็นหลักหรือประเด็นสำคัญของเรื่องก่อนคำที่เป็นประเด็นรอง - ใช้คาค้นคาใดเพียงคาเดียว ไม่ปรับเปลี่ยน พลิกแพลง ทาให้ผลการค้นที่ได้มากไป น้อยไป หรือไม่พบเลย
วิธีแก้ไข ปรับเปลี่ยนคำค้น โดยใช้คำอื่นๆ ที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันหากผลการ ค้นที่ได้น้อยไป หรือใช้คำที่มีความหมายแคบกว่าหากผลการค้นที่ได้มากไป เช่น
ใช้คำว่า ความดันโลหิต ซึ่งมีความหมายเดียวกับ ความดันเลือด
คำว่า สี ในภาษาอังกฤษ ที่สะกดได้ทั้ง color และ colour
ใช้คำว่า ยาเสพติด ซึ่งมีความหมายกว้างกว่า เฮโรอีน
ใช้คำว่า การคูณ ซึ่งมีความหมายแคบกว่า คณิตศาสตร์
ตัวอย่างการกำหนดคาสำคัญ
หากเรื่องที่ต้องการสืบค้นมีหลายประเด็น ต้องแยกประเด็นที่ต้องการให้ชดเจน ว่าประเด็นใดเป็น ประเด็นหลักหรือเรื่องที่สำคัญ พร้อมทั้งกำหนดคำค้นอื่นๆ ที่มีความหมายเหมอนหรือใกล้เคียงกัน เพื่อความ ครอบคลุมในการสืบค้น
ตัวอย่าง
นิสิตแพทย์ที่กำลังศึกษาเรื่องผู้ป่วยโรคเอดส์ต้องการสืบค้นเรื่องเกี่ยวกับ “การดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเอดส์ ที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉยงเหนือของประเทศไทย”
ประเด็นหลัก | ผู้ป่วยโรคเอดส์ | คนไข้ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม |
ประเด็นรอง | การดูแลสุขภาพ | พฤติกรรมสุขภาพ |
ประเด็นอื่นๆ | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ภาคอีสาน |
ข้อแนะนำในการสืบค้น ตามลำดับอักษร ( Alphabetical)
การสืบค้นตามลาดับอักษร คือ การสืบค้นขอมูลด้วยคำแบบเรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของรายการ ที่สืบค้น การสืบค้นวิธีนี้ ผู้ใช้ต้องทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ชื่อชุด ฯลฯ ที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในส่วนแรก ที่ขึ้นต้น มิฉะนั้นผลการค้นอาจจะคลาดเคลื่อนหรือไม่พบข้อมูล หากไม่แน่ใจเรื่องความถูกต้องและตำแหน่งของ คำ ควรสืบค้นด้วย Keyword
การสืบค้นตามลาดับอักษร
- ไม่ต้องคำนึงถึงเครื่องหมายใดๆ
- หากเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ต้องคำนึงถึงตัว พิมพ์เล็กหรือใหญ่
- การสืบค้นด้วยชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชื่อหนังสือ ปริญญานิพนธ์ วารสาร หรือ สื่อโสตทัศนวัสดุ
- ไม่ต้องพิมพ์ชื่อจนจบก็ได เช่น
- หนังสือชื่อ ไอคิวและอีคิวประตูสู่ความสำเร็จของลูก
- คำค้นที่พิมพ์ ไอคิวและอีคิว
- หนังสือชื่อ Imaging atlas of human anatomy
- คำค้นที่พิมพ์ Imaging atlas
- ไม่ต้องพิมพ์ Article ที่นำหน้าชื่อเรื่องภาษาต่างประเทศ เช่น
- หนังสือชื่อ The house book
- คำค้นที่พิมพ์ ไอคิวและอีคิว
- คำค้นที่พิมพ์ house book
- ไม่ต้องพิมพ์ชื่อจนจบก็ได เช่น
- การสืบค้นด้วยชื่อผู้แต่ง ไม่ว่าจะเป็นชื่อผู้แต่ง ผู้แปล ผู้ผลิต ทั้งที่เป็นบุคคล นิติบุคคล หน่วยราชการ และองค์กรต่างๆ
- ผู้แต่งที่เป็นคนไทย ให้พิมพ์ชื่อและนามสกุลตามลำดับ โดยไม่คำนึงถึงคำนำหน้าชื่อ ยศ และตำแหน่ง เช่น
- งามพรรณ เวชชาชีวะ
- เปรม ติณสูลำนนท์
- ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ
- หากเป็นชำวตะวันตก ให้พิมพ์ชื่อสกุลและชื่อตามลำดับ โดยคั่นด้วยเครื่องหมาย จุลภาค เช่น
- Keats, John
- หากเป็นชำวตะวันออก ให้พิมพ์ชื่อผู้แต่งตามความนิยมของแต่ละชำติ เช่น
- ชิโร่, ทาเคชิ
- ผู้แต่งที่เป็นกษัตริย์หรือเชื้อพระวงศ์ ให้พิมพ์พระนามที่ใช้เป็นทางการ ผู้แต่งที่มี บรรดาศักดิ์ ให้พิมพ์ราชทินนาม เช่น
- ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา
- ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์, ม.ร.ว.
- อนุมานราชธน, พระยำ
- Cartledge, Bryan, Sir
- ผู้แต่งที่เป็นนิติบุคคล ให้พิมพ์ชื่อตามที่ปรากฏในตัวเล่ม เช่น
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- กรมศิลปากร
- ผู้แต่งที่เป็นคนไทย ให้พิมพ์ชื่อและนามสกุลตามลำดับ โดยไม่คำนึงถึงคำนำหน้าชื่อ ยศ และตำแหน่ง เช่น
- การสืบค้นด้วยหัวเรื่อง (Subjects) ซึ่งเป็นคำหรือวลีที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นเพื่อใช้แทนเนื้อหาของ ทรัพยากรสารสนเทศนั้น ทำให้ได้ทรัพยากรสารสนเทศที่ครอบคลุมความต้องการมากที่สุด เพราะคำที่แสดง เนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศอาจจะไม่ปรากฏในชื่อเรื่องเสมอไป จึงทำให้การสืบค้นจากชื่อเรื่องอาจจะไม่ ครอบคลุมข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่
ตัวอย่างหัวเรื่องที่ใช้
การพูดภาษาอังกฤษตามหลักภาษาศาสตร์ | ภาษาอังกฤษ – การออกเสียง ภาษาอังกฤษ – สัทศาสตร์ |
ตำราอาหารมังสวิรัติ | อาหารมังสวิรัติ การปรุงอาหาร |
วิธีแก้เซ็งสร้างสุข | สุขภาพจิต ความสำเร็จ ความสุข |
ในรายละเอียดตัวเล่มของแต่ทรัพยากรจะแจ้งว่าทรัพยากรนั้นๆ มีหัวเรื่องใดบ้าง รวมถึงสามารถคลิก เพื่อเชื่อมโยงไปยังทรัพยากรอื่นที่มีหัวเรื่องเดียวกันซึ่งเป็นการขยายผลการสืบค้นให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น
เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศ
1. การสืบค้น (Searching)
2. การคัดกรองผลการสืบค้น (Refining your search results)
3. การวิเคราะห์ผลการสืบค้น (Analyzing your search results)
4. การจัดการผลการสืบค้น (Managing your search results)
1. การสืบค้น (Searching)
1.1 การเตรียมคีย์เวิร์ด (Preparing your keywords)
- ควรจะเป็นคํานาม (Noun)
- คําพ้องความหมาย คําเหมือนคําคล้าย (Synonym) เช่น hypertension กับ high blood pressure หรือ woman female lady girl เป็นต้น
ตัวอย่างการเตรียมคีย์เวิร์ด เพื่อคัดเลือกวรรณกรรมที่เป็นงานวิจัยหลายประเภท
เรื่องที่ต้องการสืบค้น คือ
การบําบัดหรือจัดการอาการปวดหลังสวนล่างแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
- อาการปวดแบบเฉียบพลัน acute pain
- อาการปวดแบบเรื้อรัง chronic pain
- หลัง Back
- หลังสวนล่าง low back
- การจัดการ Management
1.2 การใชเครื่องหมายช่วยในการสืบค้น (Wildcards)
* ละตัวอักษรตัWงแต่ 0 ตัวอักษรเป็นต้นไป
ตัวอย่างเช่น manag* จะค ้นหา manage manages manager management
? แทนที่ตัวอักษรเพียงตัวเดียวเท่านั้น
wom?n จะค้นหา woman women หรือ fib?? จะค ้นหา fiber fibre
“……” ค้นตรงตามตัวที่พิมพ์
“lung cancer” “stingless bee” “hard of hearing” เป็นต้น
(………) จัดลําดับการสืบค้นก่อนหลัง
rabies AND (dog OR cat)
1.3 การสร้างเงื่อนไขเพื่อการสบค้นโดยใช้ตัวชื่อม (Operators)
- AND ค้นหาทุกคํา
ตัวอย่าง insulin AND diabetes
ทั้ง insulin และ diabetes ต้องพบอยู่ในบทความเดียวกัน - >OR ค ้นหาอย่างน้อยหนึ่งคํา
ตัวอย่าง heart OR cardiac
heart หรือ cardiac คําใดคําหนึ่งต้องปรากฎอยู่ในบทความ - NOT ปฎิเสธการค้นหาคํานี้
rabies NOT dogs
rabies ซึ่งเป็นคําแรกต้องปรากฎในบทความ แต่คําที่สองคือ dogs ต้องไม่ปรากฎอยู่ในบทความ
- AND ค้นหาทุกคํา
การใชตัวเชื้อมเพื่อกําหนดคําให้อยู่ใกล้กันภายในจํานวนคําที่กําหนด ทั้งนี้การใชตัวเชื่อม NEAR ใช้ได้กับ บางฐานข้อมูลเท่านั้น
- NEAR/n การตั้งค่าให ้คําอยู่ใกล ้กันภายในจํานวนคําที่กําหนด (n)
- NEAR/3-5 phrase กําหนดให้อยู่ภายในกลุ่มคําหรือวลีเดียวกัน
ตัวอย่าง drying NEAR/3 vegetable ผลการสบค้นที่พบ คือ คําว่า drying อยู่ในตําแหน่งที่ใกล้กับคําว่า vegetable ภายในหรือไม่เกิน 3 คํา โดยที่ลําดับของคําจะปรากฎคําใดก่อนก็ได ้ - NAER/15 same sentence กําหนดใ้ห้อยู่ภายในประโยคเดียวกัน
ตัวอย่าง drying NEAR/15 vegetable ผลการสบค้นที่พบคือคําว่า drying อยู่ในตําแหน่งที่ใกล้กับคําว่า vegetable ภายในหรือไม่เกิน 15 คํา หรือประมาณการว่าทั้งสองคําต้องปรากฎภายในประโยคเดียวกัน โดยที่ลําดับ ของคําจะปรากฎคําใดก่อนก็ได ้ - NAER/50 same paragraph กําหนดให้อยู่ภายในย่อหน้าเดียวกัน
ตัวอย่าง drying NEAR/50 vegetable ผลการสบค้นที่พบ คือ คําว่า drying อยู่ในตําแหน่งที่ใกล้กับคําว่า vegetable ภายในหรือไม่เกิน 50 คํา หรือประมาณการว่าทั้งสองคําต้องปรากฎภายในย่อหน้าเดียวกัน โดยที่ลําดับ ของคําจะปรากฎคําใดก่อนก็ได ้
1.4 วิธีการสืบค้น (Search Methods)
- Basic search ค้นทุกเขตข้อมูล ผลลัพธ์การสบค้นจะมีปริมาณมากและกว้าง
- Advanced search เลือกกําหนดเขตข้อมูลได ้ สร้างเงื่อนไขที่ซับซ้อนได้ดี ปริมาณผลการสืบค้นไม่ มากและแคบกว่า Basic search
2. การคัดกรองผลการสืบค้น (Refining your search result)
การคัดกรองผลการสืบค้น (Refining your search result) ทําได้โดย
- การคัดกรองผลการสืบค้นหรือจํากัดผลการสืบค้นให ้แคบลงได้โดย
- การเพิ่มคีย์เวิร์ด (Adding more keywords)
- การเลือกหัวเรื่องที่ต้องการ (Choosing your subjects)
- การกําหนดปีที่ิพิมพ์ (Limiting a search by publication year)
- การกําหนดเขตข้อมูล (Specifying fields)
- ประเภทสิ่งพิมพ์ (Publication types)
3. การวิเคราะห์ผลการสืบค้น (Analyzing your search results)
- การวิเคราะห์ผลการสืบค้นด้วยการจัดเรียงผลลัพธ์ (Sort results by)
- Relevance (จัดเรียงตามความเกี่ยวเนื่องเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ด)
4. การจัดการผลการสืบค้น (Managing your search results)
การจัดผลการสืบค้น อันได ้แก่ ข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic info rmation) และเอกสารฉบับเต็ม (Full Text)
- การสงพิมพ์ (Printing)
- การบันทึกข้อมูล (Saving)
- การอีเมล (Email)
- การนําข้อมูลบรรณานุกรมออก (Exporting citation)
- โปรแกรม EndNote
- Text file