1.1 การกำหนดแนวทางการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว ๑.๑.๑ มีบริบทองค์กรและขอบเขตของ การจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน (๑) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของ สำนักงาน (๒) มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของ สำนักงาน คำอธิบาย สำนักงาน หมายถึง สถานที่ทำงานของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และสถาบันการศึกษา ที่ออกแบบและก่อสร้าง ทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคาร โดยผู้ทำงาน ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ประกอบ อาชีพใช้เป็นที่บริหารงาน ปฏิบัติงานด้านเอกสารและพิมพ์เอกสาร การประชุม รวมถึงการจัดนิทรรศการ โดยให้มีสัดส่วนของพื้นที่มากที่สุด รวมไปถึงพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ ภายในสำนักงาน ได้แก่ พื้นที่ รับประทานอาหาร พื้นที่ประกอบอาหาร ห้องน้ำ ลานจอดรถ พื้นที่รองรับ ของเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย รวมถึงพื้นที่โดยรอบสำนักงาน | | |
๑.๑.๒ การกำหนดนโยบายด้าน สิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง ที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็น ตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียวโดยแสดง ความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ (๑) กำหนดนโยบายในการควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ/ของ เสีย รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (๒) การปฏิบัติตามกฎหมายและเกณฑ์ การเป็นสำนักงานสีเขียว และการ สร้างความรู้และความตระหนักด้าน สิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้อง (๓) นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการ อนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ ได้รับมอบอำนาจ มีวันที่ประกาศใช้ ชัดเจน (๔) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้อง สามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย และมีส่วนร่วมในการ ติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบาย ด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน คำจำกัดความ ผู้บริหารระดับสูง หมายถึง ผู้บริหาร ระดับสูงของหน่วยงานที่เป็นผู้กำหนด นโยบาย เป้าหมายขององค์กร มีอำนาจ ในการตัดสินใจ และในการลงนาม เอกสารต่างๆ โดยในการดำเนินงาน สำนักงานสีเขียวจะเป็นผู้บริหารระดับสูง หรือระดับรองลงมาได้ไม่เกิน 2 ชั้น หรือ ตามบริบทของหน่วยงาน คำอธิบาย การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องคำนึงถึง 1. ความเพียงพอของทรัพยากรในการดำเนินงาน 2. การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม 3. การติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนา | | |
๑.๑.3 มีการกำหนดเป้าหมาย และ ตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย และปริมาณก๊าซ เรือนกระจก ดังนี้ (๑) การใช้ไฟฟ้า (๒) การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง (๓) การใช้น้ำ (๔) การใช้กระดาษ (๕) ปริมาณของเสีย (๖) ปริมาณก๊าซเรือนกระจก คำอธิบาย การกำหนดเป้าหมายผู้ตรวจประเมินจะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการจัดการพลังงาน และของเสีย ขององค์กร ดังนั้น ผู้ตรวจประเมินจะต้องคำนึงถึงการจัดการด้านพลังงาน ทรัพยากร และของเสีย ที่ผ่านมา ในแต่ละองค์กร เช่น สถิติข้อมูลการใช้พลังงาน ทรัพยากร รายงานการประชุม เป็นต้น เพื่อตัดสินถึงความมี ประสิทธิภาพในการกำหนดเป้าหมาย | | |
๑.๑.๔ มีการกำหนดแผนการดำเนินงาน สำนักงานสีเขียวประจำปี (๑) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการ ดำเนินงานครบถ้วนทุกหมวด (๒) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของ การดำเนินงานของแต่ละหมวด (๓) มีการกำหนดแผนดำเนินงานเป็น ลายลักษณ์อักษร และได้รับการ อนุมัติจากผู้บริหาร คำอธิบาย – | | |
๑.๒ คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ๑.๒.๑ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือ ทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทาง ดำเนินงาน ดังนี้ (๑) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือ ทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนาม อนุมัติ โดยคณะกรรมการหรือ ทีมงานจะต้องครอบคลุมทุกหมวด และบุคลากร/ผู้แทนจากทุกฝ่าย ในหน่วยงาน (๒) กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่รับผิดชอบ ของคณะกรรมการอย่างชัดเจน คำอธิบาย – | | |
๑.๒.๒ ร้อยละของคณะกรรมการ หรือ ทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจ ในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบ ประเมินจากการสุ่มสอบถามดังนี้ (๑) ประธาน/หัวหน้า (๒) คณะกรรมการหรือทีมงานทางด้าน สิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบทุกหมวด (สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจ ประเมินแต่ละหมวดสุ่มสอบถามได้) คำอธิบาย – | | |
๑.๓ การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ๑.๓.๑ กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงาน ภายใต้ขอบเขตการขอการรับรอง สำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับการระบุ และประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม (๑) มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงาน ทั้งทางตรง และทางอ้อม ครบถ้วน ตามกิจกรรม ขอบเขตและบริบท ของสำนักงาน (๒) มีการกำหนดผู้รับผิดชอบที่มีความรู้ ความเข้าใจ (๓) ระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละ กิจกรรมจะต้องครบถ้วน (๔) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรงและ ทางอ้อมครบถ้วน (๕) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ ผิดปกติ และฉุกเฉินครบถ้วน (๖) มีการพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม นั้นๆ อย่างครบถ้วนและถูกต้อง (๗) ก า ร ป ร ะ เ ม ิ น เ พ ื ่ อ จ ั ด ล ำ ดั บ ความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม (๘) มีหลักฐานการกำหนดระยะเวลาใน การทบทวนการระบุประเด็นปัญหา สิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและ พลังงาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๙) กรณีมีการปรับแผน/กิจกรรม หรือมี กิจกรรมเพิ่มเติม (เช่น มีแผนที่จะก่อสร้างอาคาร หรือเพิ่มเติมกิจกรรม ของสำนักงานในอนาคตอันใกล้ เป็น ต้น) จะต้องระบุกิจกรรมดังกล่าว ด้วย (ถ้ามี) คำอธิบาย ๑. ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรง หมายถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินการของบุคลากรของ สำนักงาน ๒. ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางอ้อม หมายถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากบุคคลภายนอกสำนักงาน เช่น ผู้รับเหมา ผู้รับจ้างช่วง ผู้เข้ามาใช้บริการ เป็นต้น ๓. ปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ หมายถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดเป็นประจำทุกครั้งเมื่อทำกิจกรรมนั้นๆ ๔. ปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะผิดปกติหมายถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดเป็นครั้งคราว เช่น สารเคมีหก รั่วไหลปริมาณไม่มาก ท่อน้ำแตก เป็นต้น ๕. ปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะฉุกเฉิน หมายถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวและมีความ รุนแรงมากกว่าสภาวะผิดปกติ เช่น เพลิงไหม้ สารเคมีหกรั่วไหลปริมาณมาก ก๊าซพิษรั่วไหล | | |
๑.๓.๒ การวิเคราะห์และแนวทางการ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ (๑) มีสรุปรายการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มี นัยสำคัญ (๒) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทาง ปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ มีนัยสำคัญ (๓) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญมีการ ดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือ แนวทางการแก้ไขครบถ้วน (๔) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทาง ปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะ ฉุกเฉิน (๕) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะ ผิดปกติและสภาวะฉุกเฉินมีการ ดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือ แนวทางการป้องกันครบถ้วน คำอธิบาย ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ หมายถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับปานกลาง (M) ขึ้นไป | | |
๑.3.3 แผนงานโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ หรือโครงการที่สอดคล้องกับนโยบาย สิ่งแวดล้อม หรือกฎหมายสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการดำเนินการดังนี้ (๑) มีการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย โครงการ ที่สามารถวัดผลได้ชัดเจน (๒) จัดทำแผนการดำเนินงาน/กิจกรรม/ นวัตกรรมที่กำหนดในโครงการ สิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย (๓) กำหนดระยะเวลาการทำโครงการ ที่มีความชัดเจนและเหมาะสม (๔) กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำ โครงการอย่างชัดเจน มีความเข้าใจ และสามารถอธิบายได้ (๕) มีการติดตามความก้าวหน้าของ โครงการ และกำหนดความถี่เพื่อ ติดตามผลการปฏิบัติงานอย่าง ต่อเนื่อง (๖) สรุปผลการดำเนินโครงการ บรรลุ ตามเป้าหมายที่กำหนด / กรณีที่ไม่ บรรลุเป้าหมายมีการทบทวนเพื่อหา สาเหตุและแนวทางแก้ไข (๗) นำเสนอแนวทางการพัฒนาโครงการ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน หลังบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด คำอธิบาย 1. เป้าหมายที่กำหนดจะต้องมีความแตกต่างจากเป้าหมายของการใช้ทรัพยากร พลังงาน และปริมาณ ของเสียที่กำหนดในข้อ ๑.๑.3 2. เป้าหมายสามารถถูกวัดได้ในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ 3. กิจกรรมในโครงการจะต้องแตกต่างจากมาตรการการใช้ทรัพยากรและพลังงาน มาตรการจัดการของเสีย และอื่นๆที่กำหนดในหมวดที่ ๓ หมวดที่ ๔ หมวดที่ ๕ และหมวดที่ ๖ (สามารถแสดงนวัตกรรม แนวทาง/แนวคิดใหม่) 4. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการจะต้องพิจารณาจากความยากง่ายของวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย 5. นวัตกรรม หมายถึง การทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางความคิด กระบวนการ ทำงาน หรือเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอด | | |
๑.๔ กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง | | |
๑ . ๔ . ๑ มีการรวบรวมกฎ หม าย สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่ เกี่ยวข้องกับสำนักงาน โดยมีแนว ทางการดำเนินงานดังนี้ (๑) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการ รวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ เกี่ยวข้อง (๒) จัดทำรายการกฎหมายที่ครอบคลุม ปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของ สำนักงาน (๓) สามารถระบุแหล่งที่มาของกฎหมาย และข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ (๔) สามารถระบุความเกี่ยวข้องของ ก ฎ ห ม า ย ก ั บ ป ร ะ เ ด ็ น ป ั ญ ห า สิ่งแวดล้อมได้ (๕) กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความ ปลอดภัยที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นปัจจุบัน (๖) มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมาย อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง หมายเหตุ สำนักงานจะต้องค้นหา กฎหมายท้องถิ่นเพิ่มเติม คำอธิบาย ๑. กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย หมายถึง กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหา สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของสำนักงานนั้นๆ โดยจะต้องพิจารณาประเด็นจากบริบทของ สำนักงาน และข้อ ๑.๓ การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย เช่น กฎหมาย ควบคุมมลพิษทางน้ำ การจัดการขยะ อัคคีภัย แสงสว่าง บุหรี่ พลังงาน เป็นต้น ๒. กฎหมายสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น หมายถึง บทบัญญัติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในท้องถิ่นที่สำนักงาน นั้นๆ ตั้งอยู่ ๓. แหล่งที่มาของกฎหมาย จะต้องเป็นแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น หน่วยงานราชการ website รวบรวม กฎหมายโดยเฉพาะ (www.pcd.go.th, www.diw.go.th, www.shawpat.or.th www.ratchakitcha.soc. go.th เป็นต้น) | | |
๑.๔.๒ ประเมินความสอดคล้องของ กฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการ สิ่งแวดล้อมของสำนักงาน โดยมีการ ดำเนินการดังนี้ (๑) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการ ประเมินคว ามสอดคล้อง ข อง กฎหมายกับการดำเนินงานการ จัดการสิ่งแวดล้อม (๒) มีการประเมินความสอดคล้องของ กฎหมายครบถ้วน (๓) มีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตาม กฎหมายอย่างครบถ้วนและถูกต้อง กรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่ สอดคล้องกับกฎหมาย จะต้องมีการ วิเคราะห์สาเหตุ และกำหนดแนว ทางการแก้ไข (ถ้ามี) (๔) มีการกำหนดความถี่ในการประเมิน ความสอดคล้องของกฎหมายอย่าง น้อยปีละ 1 ครั้ง ที่เหมาะสมและมี การปฏิบัติตามที่กำหนดได้ คำอธิบาย การปฏิบัติตามกฎหมาย ๑. สอดคล้องกับกฎหมาย หมายถึง สำนักงานมีการปฏิบัติเป็นไปตามที่กฎหมายนั้นๆ ได้กำหนดไว้ และ จะต้องอ้างอิงหลักฐานของการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยสามารถอ้างอิงจากภาพถ่าย เอกสารการ ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายเรื่องนั้นๆ ๒. ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย หมายถึง สำนักงานไม่มีการปฏิบัติเป็นไปตามที่กฎหมายนั้นๆ ได้กำหนดไว้ หรือปฏิบัติผิดกฎหมาย หรือละเมิดกฎหมาย ๓. เพื่อทราบ หมายถึง กฎหมายที่ไม่ได้มีบทใช้บังคับ | | |
๑.๕ ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก ๑.๕.๑ การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมในสำนักงาน จะต้อง ประกอบไปด้วย (๑) ปริมาณการใช้ไฟฟ้า (๒) ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับการเดินทาง เครื่องปั่นไฟ ( Generator) เ ค ร ื ่ อ ง ส ู บ น้ ำ ดับเพลิง (Fire pump) (๓) ปริมาณการใช้น้ำประปา (๔) ปริมาณการใช้กระดาษ (๕) ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ) (๖) ปริมาณก๊าซมีเทนจากระบบ บำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศ (๗) ปริมาณการใช้สารทำความเย็น (๘) ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สำหรับการใช้ถังดับเพลิง ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) (โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซ เรือนกระจก (Emission Factor ; EF) ของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ล่าสุด) คำอธิบาย 1. แหล่งสืบค้นค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor ; EF) คือ http://www.tgo.or.th/ 2. ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ) หมายถึง ขยะทั่วไปหรือขยะที่องค์กรพิจารณาแล้วว่าไม่สามารถ นำกลับไปใช้ประโยชน์ จะต้องเข้าสู่กระบวนการฝังกลบ โดยมีหน่วยงานมารับไปสู่หลุมฝังกลบ | | |
๑.๕.๒ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุ เป้าหมาย สรุปและการวิเคราะห์ผล (1) การเปรียบเทียบก๊าซเรือนกระจก รายเดือน (2) การเปรียบเทียบก๊าซเรือนกระจก ตามประเภท 1 และ 2 และ 3 (3) การเปรียบเทียบก๊าซเรือนกระจก ตามกิจกรรม (4) การเปรียบเทียบก๊าซเรือนกระจก กับปีฐาน กรณีบรรลุเป้าหมาย (๑) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย (๑) มีการวิเคราะห์สาเหตุในกรณีที่ไม่ บรรลุเป้าหมาย (๒) มีแนวทางการแก้ไขในกรณีที่ไม่ บรรลุเป้าหมาย (๓) มีการติดตามผลหลังแก้ไข คำอธิบาย – | | |
๑.๕.๓ บุคลากร/ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Outsource) มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกในภาพรวม ของสำนักงาน โดยการสุ่มสอบถามใน เรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (๑) แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจกจากกิจกรรมในสำนักงาน (๒) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย (๓) ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน หรือ ก ๊ า ซ เ ร ื อ น ก ร ะ จ ก ห ร ื อก า ร เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ สิ่งแวดล้อม (๔) ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการลดก๊าซ เรือนกระจกของประเทศ หมายเหตุ ๑. บุคลากรที่ถูกสอบถามจะต้องอธิบาย ให้ได้ทั้ง ๔ ข้อ ๒. สอบถามบุคลากร ๔ คนขึ้นไป คำอธิบาย – | | |
๑.๖ แผนการดำเนินงานและโครงการเพื่อมุ่งสู่การลดก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงาน ๑.๖.๑ จัดทำแผนการดำเนินงาน ขับเคลื่อนสู่การลดก๊าซเรือนกระจกของ หน่วยงาน จะต้องมีการดำเนินการดังนี้ (1) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการ ดำเนินงานหรือกิจกรรม (2) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของ การดำเนินงาน อย่างน้อย 1 ปี (3) มีการกำหนดแผนดำเนินงานเป็น ลายลักษณ์อักษร และได้รับการ อนุมัติจากผู้บริหาร (4) มีการแสดงเจตนารมณ์เพื่อมุ่งสู่ ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) หรือมีวาระหารือกันใน การประชุมทบทวนฝ่าย คำอธิบาย – | | |
๑.๖.๒ โครงการที่นำไปสู่การลดก๊าซ เรือนกระจกของหน่วยงาน (1) ม ี ก า ร ก ำ ห น ด ว ั ต ถ ุ ป ร ะ ส ง ค์ เป้าหมายโครงการ ที่สามารถวัดผล ได้ชัดเจน (2) จัดทำแผนการดำเนินงาน/กิจกรรม/ นวัตกรรมที่กำหนดในโครงการ สิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย (3) ระยะเวลาการทำโครงการมีความ เหมาะสม (4) กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำ โครงการอย่างชัดเจน โดยจะต้องมี ความเข้าใจ และสามารถอธิบายได้ (5) มีการติดตามความก้าวหน้าของ โครงการ และกำหนดความถี่เพื่อ ติดตามผลการปฏิบัติงานอย่าง ต่อเนื่อง (6) สรุปผลการดำเนินโครงการ บรรลุ ตามเป้าหมายที่กำหนด / กรณีที่ไม่ บรรลุเป้าหมายมีการทบทวนเพื่อ หาสาเหตุและแนวทางแก้ไข (7) นำเสนอแนว ทางการพั ฒ น า โครงการ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และยั่งยืนหลังบรรลุเป้าหมาย ตามที่กำหนด คำอธิบาย – | | |
1.7 การทบทวนฝ่ายบริหาร ๑.7.๑ การกำหนดองค์ประชุมทบทวน ฝ่ายบริหาร (๑) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม (๒) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วน งานที่มีความเกี่ยวข้องกับการ ดำเนินงานในแต่ละหมวดเข้าร่วม ประชุม (๓) จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้อง มากกว่าร้อยละ ๗๕ ของจำนวนผู้ที่ เป็นคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วม ประชุม (๔) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถ เข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงาน ผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับ ข้อเสนอแนะ คำอธิบาย – | | |
๑.7.๒ มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร ดังนี้ (๑) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (2) มีการกำหนดวาระการประชุม ดังนี้ – วาระที่ ๑ การติดตามผลการประชุม ทบทวนฝ่ายบริหารที่ผ่านมา – วาระที่ ๒ นโยบายสิ่งแวดล้อม – วาระที่ ๓ ความมีประสิทธิภาพ ของคณะกรรมการหรือทีมงาน ด้านสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอ และความเหมาะสม) – วาระที่ ๔ การติดตามผลการ ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การ สื่อสารและข้อคิดเห็นด้าน สิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตาม กฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนา – วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะ ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จใน การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม – วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ ประชุม และวิสัยทัศน์ แนวคิด ของผู้บริหารของการดำเนินงาน สำนักงานสีเขียวอย่างต่อเนื่อง (3) จัดทำรายงานการประชุมทบทวน ฝ่ายบริหาร และภาพถ่ายของการ ประชุมทุกครั้ง คำอธิบาย ๑. ข้อ (2) วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้าน สิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา หมายถึง การ รายงานผลการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวทุกหมวด หากมีประเด็นข้อบกพร่องหรือปัญหา ต้อง รายงานแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา ๒. ข้อ (2) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ แนวคิดผู้บริหาร กิจกรรม งบประมาณ บุคลากร เทคโนโลยี สภาพแวดล้อมภายนอกสำนักงาน เศรษฐกิจ เป็นต้น หากพบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะต้องนำเข้าที่ประชุมเพื่อหาแนวทางหรือ กลยุทธ์ในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ส่งผลให้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสามารถดำเนินการ ต่อเนื่องได้ ๓. ข้อ (2) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหารของการดำเนินงาน สำนักงานสีเขียวอย่างต่อเนื่อง จะเน้นการวางแผนการดำเนินงานเพื่อนำไปปฏิบัติในรอบถัดไป | | |