H-index (Hirsch index / Hirsch number)

h-index เป็นค่าที่วัดได้ในหลายระดับ คือ Author level, Institutional level คิดค้นและพัฒนาโดย Professor Jorge Hirsch นักฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี ค.ศ. 2005 และนิยมใช้ในการวัดคุณภาพเพื่อเปรียบเทียบนักวิจัย กลุ่มวิจัย หน่วยงาน และประเทศ

h-index คือ ตัวเลขที่แสดง "จำนวนผลงานวิจัย ที่มีจำนวนครั้งของการได้รับการอ้างอิงเท่ากับหรือมากกว่าจำนวนผลงานวิจัยนั้นๆ เช่น นักวิจัย A ได้รับค่า h index = 10 หมายความว่า นักวิจัย A มีผลงานบทความวิจัยตีพิมพ์จำนวน 10 เรื่อง โดยทุกๆ บทความนั้น ได้รับการอ้างอิงอย่างน้อย 10 ครั้งหรือ มากกว่า

h-index คือ ค่าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการอ้างถึง (Citations) กับลำดับของบทความที่ถูกอ้างถึง (Article Rank Number) โดยจำนวนการอ้างถึง ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ลำดับของบทความที่ถูกอ้างถึง (A scientist has index h if h of his N papers have at least h citations each, and the other (N-h) papers have no more h citations each.)

h-index ประกอบด้วย 2 ค่า ได้แก่ จำนวนการอ้างถึงบทความวารสาร (Citations) และจำนวนบทความที่มีการตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ (Number of Publications) แสดงความสัมพันธ์กัน ซึ่งข้อมูลทั้งสองจำนวนนี้ มีปรากฏในฐานข้อมูลประเภทการอ้างอิงเท่านั้น เช่น ISI Web of Science, Scopus, Google Scholar และ TCI ของประเทศไทย โดยค่า h-index ของแต่ละฐานข้อมูลนั้นแตกต่างกัน เพราะขึ้นอยู่กับจำนวนบทความ จำนวนวารสาร และจำนวนการอ้างอิง ที่แต่ละบทความได้รับในช่วงเวลาที่กำหนดของแต่ละฐานข้อมูลแตกต่างกัน จึงทำให้การคำนวณค่า h-index แตกต่างกันด้วย

วิธีคำนวณค่า h-index แสดงได้ดังนี้

ยกตัวอย่าง นักวิทยาศาสตร์ A ปีค.ศ. 2009 ได้ค่า h-index = 15 (ณ สิงหาคม ค.ศ. 2009) โดยทำการเรียงลำดับรายการบทความวิจัยตีพิมพ์ ตามจำนวนที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุดไล่เรียงลงไป ดังนี้

Document
Citation
1
34
2
25
3
23
4
22
5
21
6
21
7
20
8
20
9
19
10
18
11
16
12
16
13
16
14
15
15
15
16
15

*อ้างอิงจาก TCI ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

ค่าวัดนี่มีอยู่ในฐานข้อมูล Scopus/ Web of Science/Google Scholar

จุดมุ่งหมายหนึ่งของ h-index คือ เพื่อกำจัดสิ่งพิมพ์ก่อนหน้าที่อาจแสดงผลกระทบของผลงานนักวิจัย เช่น นักวิจัยตีพิมพ์ผลงานจำนวน 1 บทความเมื่อหลายปีก่อนที่ได้รับการอ้างถึงจำนวน 9,374 ครั้ง แต่จากนั้นมามีบทความที่ได้รับการอ้างถึง 2 หรือ 3 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าผลงานระยะยาวของนักวิจัยคนนั้นๆ สำคัญมาก แต่สำหรับ h-index แล้ว มันมีค่าที่ต่ำมาก ซึ่งแสดงนัยให้เห็นว่าองค์ความรู้โดยรวมของนักวิจัยนั้นไม่มีนัยสำคัญ

ฐานข้อมูลที่ต่างกันจะให้ค่าที่ต่างกันของ h-index เนื่องจากแต่ละฐานข้อมูลต้องคำนวณคุณค่าตามการอ้างถึงที่มีอยู่ เนื่องจากแต่ละฐานข้อมูลมีสำนักพิมพ์ต่างกันในแต่ละช่วงปี ผลลัพธ์ของ h-index จึงแตกต่างตามไป นอกจากนั้น h-index ที่ดีอาจต่างกันโดยขึ้นอยู่กับสาขาวิชา จำนวนที่ได้รับการพิจาณาค่าต่ำอาจได้ค่าที่สูงในอีกสาขาวิชาหนึ่ง

ข้อดีของ h-index

1. เป็นมาตรสำหรับการคำนวณผลกระทบโดยรวมของผลงานผู้เขียนบทความวิชาการ ซึ่งวัดจำนวนพร้อมไปกับคุณภาพโดยการเปรียบเทียบสิ่งพิมพ์กับการอ้างถึง

2. ช่วยแก้ไขน้ำหนักที่ไม่เป็นสัดส่วนของสิ่งพิมพ์ที่มีการอ้างถึงสูงหรือสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้รับการอ้างถึง

3. แหล่งฐานข้อมูลจำนวนมากมีการคำนวณค่า h-index แบบอัตโนมัติเพื่อรายงานการอ้างถึงสำหรับผู้เขียน

ข้อด้อยของ h-index

1. เป็นมาตรที่ประเมินองค์ความรู้ผลงานวิชาการของผู้เขียนคนหนึ่ง แต่ไม่กำหนดช่วงเวลา

2. เป็นแรงจูงใจต่อสิ่งพิมพ์ที่แทบไม่มีการอ้างถึง เช่น บทคัดย่อรายงานการประชุม และสิ่งพิมพ์ที่มีการอ้างถึงบ่อย เช่น รีวิว

3. ไม่เป็นมาตรสากลเนื่องจากมีความยุ่งยากในการเปรียบเทียบผู้เขียนในสาขาวิชาหรือความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย ขณะที่นักวิชาการรุ่นเยาว์จะเสียโอกาส และสาขาวิชาการมีความหลากหลายตามจำนวนของสิ่งพิมพ์ อ้างอิง และการอ้างถึง

4. ไม่คำนึงถึงการจัดอันดับผู้เขียนและผู้เขียนร่วมในสิ่งพิมพ์นั้นๆ

5. มีสถานการณ์แบบก้ำกึ่งสำหรับผู้เขียนที่มีจำนวนสิ่งพิมพ์เท่ากัน จำนวนการอ้างถึงต่างกัน แต่ได้ค่า h-index เท่ากัน เช่น ผู้เขียน ก มีสิ่งพิมพ์ 8 รายการที่ได้รับการอ้างถึง 338 ครั้ง และผู้เขียน ข ก็มีสิ่งพิมพ์ 8 รายการที่ได้รับการอ้างถึง 28 ครั้ง โดยทั้งคู่ได้ค่า h-index = 5 เท่ากัน ทั้งๆ ที่ผู้เขียน ก มีการอ้างถึงมากกว่าผู้เขียน ข เป็นต้น

การตรวจสอบค่า h-Index จากฐานข้อมูล

  • Web of Science  มีวารสารที่ทำดัชนีจำนวนถึง 12,000 รายชื่อในสาขามนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะและสังคมศาสตร์

    วิธีการหาค่า h-index ให้ใส่ชื่อผู้เขียนในกล่องสืบค้น เลือก Author จากเมนูขวามือ คลิก Search จากนั้นให้คลิกที่ Citation Report ด้านขวามือของหน้าที่ค้นได้ จะปรากฏค่า h-index ขึ้นมา

  • Scopus  มีบทความที่ทำดัชนีจากวารสารจำนวนกว่า 22,000 รายชื่อของสำนักพิมพ์ทั่วโลกจำนวนกว่า 4,000 แห่งในทุกสาขาวิชา

    วิธีการหาค่า h index ให้คลิกที่แถบค้น Author จากนั้นใส่ชื่อผู้เขียนลงในช่องสืบค้น แล้วคลิก Search หากปรากฏชื่อผู้เขียนหลายคน ให้เลือกชื่อที่ต้องการ แล้วคลิกที่ชื่อนั้นๆ ค่า h-index จะปรากฏให้เห็นด้านขวามือ

  • Google Scholar Citations  เริ่มด้วยการสร้าง profile โดยการใช้ gmail account (gmail หรือ g.swu.ac.th) เพื่อให้ค้นหาบทความที่ถูกอ้างถึงใน Google Scholar รวมทั้งค่า h-index