A
Assessment of information sources
การประเมินแหล่งสารสนเทศ
การประเมินแหล่งสารสนเทศ
1. ความน่าเชื่อถือ
– มี peer review หรือเป็นวิชาการ
– บทความปรากฏบน site ที่มีผู้รับผิดชอบ
– สามารถติดต่อผู้เขียนได้
2. ความครอบคลุม/ความสอดคล้อง
– ผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย เช่น นักวิชาการ ทั่วไป กลุ่มเฉพาะ
– ระดับและความเหมาะสมของเนื้อหาสำหรับหัวข้อที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้า
– ช่วงเวลาที่ครอบคลุม
3. อคติ/ความถูกต้องแม่นยำ
– วิธีการนำเสนอสารสนเทศเป็นอย่างไร (ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น โฆษณาชวนเชื่อ)
– หากเป็นข้อเท็จจริง ต้องมีความถูกต้องแม่นยำ
– มีอคติด้านใดหรือไม่ เช่น การเมือง วัฒนธรรม ศาสนา หากมีได้แสดงออกอย่างชัดเจนหรือไม่
4. ความเป็นปัจจุบัน
– เป็นสารสนเทศล่าสุด หรือจำเป็นต้องเป็นปัจจุบันหรือไม่
– มีเนื้อหาบางส่วนที่ล้าสมัย หรือเก่าเกินความต้องการหรือไม่
5. คุณภาพ
– ใช้วิธีการที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา
– เขียนได้อย่างชัดเจน
– มีองค์กรหรือหน่วยงานที่เชื่อมต่อผลงาน
– ผู้เขียนเห็นด้วยกับนักวิชาการส่วนใหญ่หรือไม่
การประเมินทรัพยากรบนอินเทอร์เน็ต
1. ผู้เขียน
– มีชื่อผู้เขียน/ผู้สร้างเพจ
– มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ (อาชีพ ประสบการณ์ ตำแหน่ง/การศึกษา)
– ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น email
– มีลิงก์หน้าโฮมเพจ
– มีผู้สนับสนุน เช่น หน่วยงาน องค์กร
– มีชื่อโดเมน/URL ที่แสดงแหล่งของสารสนเทศ
– หากไม่ระบุเจ้าของ ต้องสามารถบอกแหล่งกำเนิดของ site จากที่อยู่ได้
2. จุดมุ่งหมาย
– กลุ่มผู้ชม หากไม่ระบุก็ต้องเป็นการให้ความรู้ สอน หรืออธิบาย
3. ความเป็นปรนัย
– สารสนเทศนั้นเป็นข้อเท็จจริง ความคิดเห็นหรือโฆษณาชวนเชื่อ
– ทัศนะของผู้เขียนเป็นปรนัยหรือบางส่วน
– ผู้เขียนมีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรใดหรือไม่
– เนื้อหาของเพจได้รับการรับรองเป็นทางการจากสถาบันหรือองค์กร
4. ความถูกต้องแม่นยำ
– แหล่งสารสนเทศที่ใช้มีรายการอ้างอิง
– มีผู้รับผิดชอบสำหรับความแม่นยำ
– สารสนเทศผ่านการรีวิวหรืออ้างอิง
5. ความน่าเชื่อถือ
– สารสนเทศมีความน่าเชื่อถือหรือมีกรณีสนับสนุนหรือไม่
– มีการสนับสนุนจากสถาบัน เช่น มหาวิทยาลัย หน่วยงาน
– มีรายการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ