Open Access Publication
O Open Access Publication ฐานข้อมูลแบบเปิด วารสารที่เข้าใช้แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายที่มีการแสดงค่า Citation Analysis AGRICOLA Biomed Central ClinicalTrials.gov Directory of Open Access Journals Ebsco: Open access Elsevier: Open access journals Energy Citations Database ERIC Free Medical Journal MedlinePlus Microsoft Academic National Academies Press National Center of Comprehensive and Integrative Health New England Journal of Medicine Open Choice Open Access Journals Search Engine Project Gutenberg Public Library of Science Pubmed Central SAGE Journals SciecneDirect Science Open Social Science Research Network SpringerOpen Taylor & Francis Online Wiley Open Access
H-index
H H-index จำนวนครั้งของการได้รับการอ้างอิง (Hirsch index / Hirsch number) h-index เป็นค่าที่วัดได้ในหลายระดับ คือ Author level, Institutional level คิดค้นและพัฒนาโดย Professor Jorge Hirsch นักฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี ค.ศ. 2005 และนิยมใช้ในการวัดคุณภาพเพื่อเปรียบเทียบนักวิจัย กลุ่มวิจัย หน่วยงาน และประเทศ h-index คือ ตัวเลขที่แสดง “จำนวนผลงานวิจัย ที่มีจำนวนครั้งของการได้รับการอ้างอิงเท่ากับหรือมากกว่าจำนวนผลงานวิจัยนั้นๆ เช่น นักวิจัย A ได้รับค่า h index = 10 หมายความว่า นักวิจัย A มีผลงานบทความวิจัยตีพิมพ์จำนวน 10 เรื่อง โดยทุกๆ บทความนั้น ได้รับการอ้างอิงอย่างน้อย 10 ครั้งหรือ มากกว่า h-index คือ ค่าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการอ้างถึง (Citations) กับลำดับของบทความที่ถูกอ้างถึง (Article Rank Number) โดยจำนวนการอ้างถึง ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ลำดับของบทความที่ถูกอ้างถึง (A scientist has index h if h of his N papers have at least h citations each, and the other (N-h) papers have no more h citations each.) h-index ประกอบด้วย 2 ค่า ได้แก่ จำนวนการอ้างถึงบทความวารสาร (Citations) และจำนวนบทความที่มีการตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ (Number of Publications) แสดงความสัมพันธ์กัน ซึ่งข้อมูลทั้งสองจำนวนนี้ มีปรากฏในฐานข้อมูลประเภทการอ้างอิงเท่านั้น เช่น ISI Web of Science, Scopus, Google Scholar และ TCI ของประเทศไทย โดยค่า h-index ของแต่ละฐานข้อมูลนั้นแตกต่างกัน เพราะขึ้นอยู่กับจำนวนบทความ จำนวนวารสาร และจำนวนการอ้างอิง ที่แต่ละบทความได้รับในช่วงเวลาที่กำหนดของแต่ละฐานข้อมูลแตกต่างกัน จึงทำให้การคำนวณค่า h-index แตกต่างกันด้วย วิธีคำนวณค่า h-index แสดงได้ดังนี้ ยกตัวอย่าง นักวิทยาศาสตร์ A ปีค.ศ. 2009 ได้ค่า h-index = 15 (ณ สิงหาคม ค.ศ. 2009) โดยทำการเรียงลำดับรายการบทความวิจัยตีพิมพ์ ตามจำนวนที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุดไล่เรียงลงไป ดังนี้ Document Citation 1 34 2 25 3 23 4 22 5 21 6 21 7 20 8 20 9 19 10 18 11 16 12 16 13 16 14 15 15 15 16 15 *อ้างอิงจาก TCI ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ค่าวัดนี่มีอยู่ในฐานข้อมูล Scopus/ Web of Science/Google Scholar จุดมุ่งหมายหนึ่งของ h-index คือ เพื่อกำจัดสิ่งพิมพ์ก่อนหน้าที่อาจแสดงผลกระทบของผลงานนักวิจัย เช่น นักวิจัยตีพิมพ์ผลงานจำนวน 1 บทความเมื่อหลายปีก่อนที่ได้รับการอ้างถึงจำนวน 9,374 ครั้ง แต่จากนั้นมามีบทความที่ได้รับการอ้างถึง 2 หรือ 3 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าผลงานระยะยาวของนักวิจัยคนนั้นๆ สำคัญมาก แต่สำหรับ h-index แล้ว มันมีค่าที่ต่ำมาก ซึ่งแสดงนัยให้เห็นว่าองค์ความรู้โดยรวมของนักวิจัยนั้นไม่มีนัยสำคัญ ฐานข้อมูลที่ต่างกันจะให้ค่าที่ต่างกันของ h-index เนื่องจากแต่ละฐานข้อมูลต้องคำนวณคุณค่าตามการอ้างถึงที่มีอยู่ เนื่องจากแต่ละฐานข้อมูลมีสำนักพิมพ์ต่างกันในแต่ละช่วงปี ผลลัพธ์ของ h-index จึงแตกต่างตามไป นอกจากนั้น h-index ที่ดีอาจต่างกันโดยขึ้นอยู่กับสาขาวิชา จำนวนที่ได้รับการพิจาณาค่าต่ำอาจได้ค่าที่สูงในอีกสาขาวิชาหนึ่ง ข้อดีของ h-index 1. เป็นมาตรสำหรับการคำนวณผลกระทบโดยรวมของผลงานผู้เขียนบทความวิชาการ ซึ่งวัดจำนวนพร้อมไปกับคุณภาพโดยการเปรียบเทียบสิ่งพิมพ์กับการอ้างถึง 2. ช่วยแก้ไขน้ำหนักที่ไม่เป็นสัดส่วนของสิ่งพิมพ์ที่มีการอ้างถึงสูงหรือสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้รับการอ้างถึง 3. แหล่งฐานข้อมูลจำนวนมากมีการคำนวณค่า h-index แบบอัตโนมัติเพื่อรายงานการอ้างถึงสำหรับผู้เขียน ข้อด้อยของ h-index 1. เป็นมาตรที่ประเมินองค์ความรู้ผลงานวิชาการของผู้เขียนคนหนึ่ง แต่ไม่กำหนดช่วงเวลา 2. เป็นแรงจูงใจต่อสิ่งพิมพ์ที่แทบไม่มีการอ้างถึง เช่น บทคัดย่อรายงานการประชุม และสิ่งพิมพ์ที่มีการอ้างถึงบ่อย เช่น รีวิว 3. ไม่เป็นมาตรสากลเนื่องจากมีความยุ่งยากในการเปรียบเทียบผู้เขียนในสาขาวิชาหรือความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย ขณะที่นักวิชาการรุ่นเยาว์จะเสียโอกาส และสาขาวิชาการมีความหลากหลายตามจำนวนของสิ่งพิมพ์ อ้างอิง และการอ้างถึง 4. ไม่คำนึงถึงการจัดอันดับผู้เขียนและผู้เขียนร่วมในสิ่งพิมพ์นั้นๆ 5. มีสถานการณ์แบบก้ำกึ่งสำหรับผู้เขียนที่มีจำนวนสิ่งพิมพ์เท่ากัน จำนวนการอ้างถึงต่างกัน แต่ได้ค่า h-index เท่ากัน เช่น ผู้เขียน ก มีสิ่งพิมพ์ 8 รายการที่ได้รับการอ้างถึง 338 ครั้ง และผู้เขียน ข ก็มีสิ่งพิมพ์ 8 รายการที่ได้รับการอ้างถึง 28 ครั้ง โดยทั้งคู่ได้ค่า h-index = 5 เท่ากัน ทั้งๆ ที่ผู้เขียน ก มีการอ้างถึงมากกว่าผู้เขียน ข เป็นต้น การตรวจสอบค่า h-Index จากฐานข้อมูล Web of Science มีวารสารที่ทำดัชนีจำนวนถึง 12,000 รายชื่อในสาขามนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะและสังคมศาสตร์ วิธีการหาค่า h-index ให้ใส่ชื่อผู้เขียนในกล่องสืบค้น เลือก Author จากเมนูขวามือ คลิก Search จากนั้นให้คลิกที่ Citation Report ด้านขวามือของหน้าที่ค้นได้ จะปรากฏค่า h-index ขึ้นมา Scopus มีบทความที่ทำดัชนีจากวารสารจำนวนกว่า 22,000 รายชื่อของสำนักพิมพ์ทั่วโลกจำนวนกว่า 4,000 แห่งในทุกสาขาวิชา วิธีการหาค่า h index ให้คลิกที่แถบค้น Author จากนั้นใส่ชื่อผู้เขียนลงในช่องสืบค้น แล้วคลิก Search หากปรากฏชื่อผู้เขียนหลายคน ให้เลือกชื่อที่ต้องการ แล้วคลิกที่ชื่อนั้นๆ ค่า h-index จะปรากฏให้เห็นด้านขวามือ Google Scholar Citations เริ่มด้วยการสร้าง profile โดยการใช้ gmail account (gmail หรือ g.swu.ac.th) เพื่อให้ค้นหาบทความที่ถูกอ้างถึงใน Google Scholar รวมทั้งค่า h-index
Impact Factor
I Impact Factor ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งที่ได้รับการอ้างอิง Journal Metrics Web of Science Journal Citation Reports : การจัดอันดับวารสารในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ จำกัดเฉพาะการอ้างถึงข้อมูลวารสารที่ทำดัชนีใน Web of Science โดยการคำนวณที่อิงตามช่วงระยะเวลาสองปี และคำนวณโดยการแบ่งจำนวนการอ้างถึงในปีของ JCR ตามจำนวนบทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ค่า impact factor 2 หมายความว่า บทความที่ตีพิมพ์ช่วง 1 หรือ 2 ปีได้มีการอ้างถึง 2 ครั้ง 5-Year Impact Factor : จำนวนครั้งที่บทความจากวารสารที่ตีพิมพ์ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาถูกอ้างถึงในปีของ JCR ที่กำหนด Immediacy Index : จำนวนครั้งที่บทความหนึ่งถูกอ้างถึงในปีที่มีการตีพิมพ์ Cited Half-Life : ปีเฉลี่ยของบทความที่อ้างถึงโดยวารสารในปี JCR เช่น ใน JCR 2014 วารสาร International Social Work ได้ค่าการอ้างถึง half-life of 7.1 ซึ่งหมายความว่า ร้อยละ 50 ของบทความที่อ้างถึงโดยบทความใน International Social Work ในปี ค.ศ. 2014 มีการตีพิมพ์ระหว่างปีค.ศ. 1995 และ 2014 Article Influence Score : เป็นคะแนนในการวัดผลอิทธิพลของบทความในวารสารในช่วง 5 ปีแรกตั้งแต่มีการตีพิมพ์ คำนวณโดยการคูณคะแนน Eigenfactor ด้วย 0.01 แล้วหารด้วยจำนวนบทความในวารสาร Scopus SCImago Journal & Country Rank : ช่องทางที่แสดงวารสารและตัวชี้วัดสาขาวิทยาศาสตร์ระดับประเทศจากข้อมูลในฐานข้อมูล Scopus ตัวชี้วัดนี้สามารถนำไปใช้ประเมินและวิเคราะห์ด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลัก โดยสามารถเปรียบเทียบหรือวิเคราะห์แยกกันได้ สำหรับการจัดอันดับระดับประเทศนั้น อาจมีการเปรียบเทียบและวิเคราะห์แยกจากกัน มีการแบ่งกลุ่มสาขาวิชา (27 หัวข้อหลัก) หัวข้อย่อย 313 ข้อมูลอ้างอิงได้จากชื่อเรื่อง จำนวน 34,100 ชื่อเรื่อง จากสำนักพิมพ์ทั่วโลกมากกว่ามากกว่า 5,000 แห่ง และมาตรวัดการทำงานระดับประเทศจากทั่วโลก จำนวน 239 ประเทศ CiteScore : เป็นวิธีการวัด Citation impact ของรายชื่อวารสารแบบง่ายๆ ซึ่งเป็นวารสารที่ตีพิมพ์ตามปกติโดยคำนวณค่าเฉลี่ยของการอ้างถึงตามปีปฏิทินของหัวข้อที่มีการตีพิมพ์ในวารสารนั้นในช่วงสามปีของวาระการนำเสนอที่ประชุม ซึ่งจะนับปีตามปกไม่ใช่ตามปีที่เผยแพร่บนออนไลน์ และเป็นการรายงานปีละครั้งไม่ใช่รายวันอย่างเช่นใน Scopus โดยใส่ชื่อวารสาร สำนักพิมพ์ หรือ ISSN แล้วกำหนดสาขาวิชาที่ต้องการ ก็จะปรากฏรายชื่อวารสารและค่า Citation impact Scopus journal analyzer : เป็นการเปรียบเทียบวารสาร Impact factor ของวารสารจากแหล่งจำนวน 10 รายการ โดยสามารถค้นได้ตามชื่อวารสาร หรือ ISSN และสามารถเปรียบเทียบด้วย SJR หรือ SNIP (Source Normalized Impact per Paper) ตามการอ้างถึงในสาขาวิชา Eigenfactor.org : ฐานข้อมูลแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย รายชื่อวารสารสามารถสืบค้นได้ด้วย ISSN สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ ชื่อบางส่วนของวารสารหรือจากลำดับของ Citation Report ISI เป็นการประเมินผลสิ่งพิมพ์วิชาการ เช่น ความมีประสิทธิผลค่าใช้จ่ายในการบอกรับ Harzing.com : รวบรวมรายชื่อวารสารที่มีคุณภาพด้านสังคมศาสตร์และธุรกิจ รวมทั้งการดาวน์โหลดโปรแกรม Publish or Perish ที่สามารถใช้กับ Google Scholar และ Microsoft Academic Quartiles ค่าควอร์ไทล์ของวารสารที่ถูกจัดอันดับตาม SJR และแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มเท่า ๆ กัน เป็น 4 คอวร์ไทล์ โดย Q1 (สีเขียว) จะเป็นค่าควอร์ไทล์สูงสุดของวารสาร Q2 (สีเหลือง) ค่าควอร์ไทล์สูงสุดอันดับสอง Q3 (สีส้ม) เป็นค่าควอร์ไทล์สูงสุดอันดับสาม และ Q4 (สีแดง) เป็นค่าควอร์ไทล์ต่ำสุด วิธีหาค่า ใส่ชื่อวารสารลงในช่องสืบค้น เลื่อนลงมา จะปรากฏค่าควอร์ไทล์ Article Metrics PLOS Article Level Metrics : บทความด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ SSRN : รวบรวมการจัดอันดับบทความทางสาขาสังคมศาสตร์ จากการอ้างถึงและดาวน์โหลดใน SSRN เป็นบทความวิชาการฉบับเต็มโดยมีวันที่กำกับการจัดอันดับแสดงไว้ใต้ชื่อเรื่อง โดยจัดอันดับดังนี้ Total New Downloads : จำนวนทั้งหมดของการดาวน์โหลดบทความในช่วง 12 เดือน Total# of Downloads : จำนวนทั้งหมดของการดาวน์โหลดบทความ Total# of Citations : จำนวนทั้งหมดของการอ้างถึงบทความใน SSRN #of Authors : จำนวนผู้แต่งที่มีชื่อในบทความ Total Downloads Per Authors : จำนวนทั้งหมดของการดาวน์โหลดต่อผู้เขียนสำหรับหนึ่งบทความ New Downloads Per Authors : จำนวนการดาวน์โหลดในช่วง 12 เดือนต่อผู้เขียนสำหรับหนึ่งบทความ Total Citations Per Author : จำนวนครั้งที่บทความถูกอ้างในบทความอื่นใน SSRN แล้วหารด้วยจำนวนทั้งหมดของผู้เขียน Book Metrics Book Metrix : แสดงจำนวนการอ้างถึง การดาวน์โหลด รีวิว ข้อวิจารณ์ และผู้อ่าน หนังสือในฐานข้อมูลหนังสือ Springer Googlebooks : แสดงจำนวนการรีวิว การดาวน์โหลด และผู้อ่าน หนังสือในฐานข้อมูลหนังสือของ Googlebooks
Citation Analysis
C Citation Analysis การวิเคราะห์การอ้างอิง Web of Science การอ้างอิงบทความจากวารสารมากกว่า 10,000 รายชื่อในสาขามนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ และสังคมศาสตร์ วิธีการค้นหา เริ่มด้วยการค้นหาชื่อผู้เขียนบทความ โดยพิมพ์ชื่อลงในช่องสืบค้น แล้วเลือกคลิกที่ Author ด้านขวามือ ก่อนคลิกที่ Search จากนั้นรายการบทความที่มีชื่อผู้แต่งจะปรากฏทั้งหมด โดยด้านขวามือจะปรากฏจำนวนการอ้างถึงของแต่ละบทความ และจำนวนครั้งของการอ้างถึง ให้คลิกที่ “times cited” จะปรากฏบทความที่อ้างถึงบทความของผู้แต่งนั้นๆ Scopus การอ้างอิงบทความจากวารสารมากกว่า 15,000 รายชื่อ จากสำนักพิมพ์นานาชาติมากถึง 4,000 แห่งในทุกสาขาวิชา วิธีการค้นหา คลิก Author แล้วพิมพ์ชื่อผู้เขียนในกล่องสืบค้น แล้วคลิก search จากนั้นรายการบทความที่มีชื่อผู้แต่งจะปรากฏทั้งหมด โดยด้านขวามือจะปรากฏจำนวนการอ้างถึงของแต่ละบทความ และจำนวนครั้งของการอ้างถึง ให้คลิกที่ “times cited” จะปรากฏบทความที่อ้างถึงบทความของผู้แต่งนั้นๆ Google Scholar การค้นการอ้างถึงที่ปรากฏใน Google Scholar อาจพบรายการอ้างถึงมากกว่า Web of Science หรือ Scopus เนื่องจาก Google Scholar ทำดัชนีสิ่งพิมพ์ทุกประเภทต่างจากฐานข้อมูลทั่วไป โดยเป็นเนื้อหาทั้งหมดที่ Google หามาได้ Publish or Perish เครื่องมือสำหรับการจัดการบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่และได้รับการอ้างถึง
Plagiarism
P Plagiarism การคัดลอกทางวรรณกรรม การคัดลอกทางวรรณกรรม (Plagiarism) : ความหมาย 1. การนำผลงานของคนอื่นมาเป็นผลงานตนเอง 2. การคัดลอกคำหรือความคิดจากคนอื่นมาใช้โดยไม่ได้อ้างอิง 3. การไม่ใส่เครื่องหมายคำพูดในส่วนของการคัดลอก 4. การให้สารสนเทศที่ไม่ถูกต้องในเครื่องหมายคำพูด 5. การเปลี่ยนคำ แต่คัดลอกโครงสร้างประโยคโดยไม่ได้อ้างอิง 6. การคัดลอกคำหรือความคิดจำนวนมากจากแหล่งหนึ่งมาเป็นผลงานส่วนใหญ่ของตนเอง แม้ว่าจะมีการอ้างอิงแต่ก็ยังถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 7. การได้ทุนวิจัยจากหน่วยงานหนึ่ง ใช้กลุ่มตัวอย่างหนึ่งในการทำวิจัยแต่ยังไม่เสร็จสิ้น แล้วไปขอทุนอีกแหล่งหนึ่งโดยปรับกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นนำผลการวิจัยไปตีพิมพ์โดยไม่ได้อ้างอิงแหล่งที่มาของกลุ่มตัวอย่างแรก สำหรับภาพ วีดิทัศน์ และเพลง 1.การคัดลอกภาพจากเว็บไซต์อื่นมาวางบนหน้าบทความหรือเว็บไซต์ตนเอง 2. การทำวีดิทัศน์โดยใช้ฟุตเทจจากวีดิทัศน์อื่น หรือการใช้เพลงที่มีลิขสิทธิ์เป็นส่วนของเพลงประกอบของตน 3. การเล่นเพลงที่มีลิขสิทธิ์ของอีกคน 4. การประพันธ์ส่วนหนึ่งของเพลงที่ยืมมาจากบทประพันธ์ของอีกคน การป้องกัน การนำความรู้และข้อมูลของผู้อื่นมาใช้อย่างถูกต้อง คือ ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มา หรือควรเขียนบรรยายองค์ความรู้นั้นด้วยลีลาและสำนวนของตนเอง การแปลจากภาษาต่างประเทศ กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองผู้เขียนบทความดั้งเดิมไว้ ดังนั้นจึงไม่สามารถแปลประโยคต่อประโยค โดยไม่ขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนได้ ถ้าในกรณีต้องการนำความรู้จากบทความต่างประเทศมาใช้ ต้องเรียบเรียงและนำเสนอองค์ความรู้นั้นด้วยสำนวนของตนเอง รวมทั้งอ้างอิงแหล่งที่มาขององค์ความรู้นั้นด้วย การทำผลงานทางวิชาการ คือการทำผลงานให้เกิดสิ่งใหม่ ถึงแม้คนเรามีความคิดที่คล้ายกัน แต่ภาษาที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ควรทำความเข้าใจและเรียบเรียงใหม่โดยใช้ภาษาของเราเอง แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าความคิดหรือคำพูดที่ใช้ จะเป็นสิ่งที่เราคิดเองหรือไม่ ให้อ้างอิงไว้ก่อน การนำภาษาอื่น คำแปล รูปภาพ แผนภูมิ ตาราง สุนทรพจน์ สำนวน มาใช้ ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้ง แม้ว่าเป็นของตนเอง งานวิจัยเรื่องเดียวกัน แต่นำไปตีพิมพ์เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษในวารสารต่างกัน ต้องแจ้งว่าจะมีการตีพิมพ์ในวารสารอีกฉบับ ทั้งนี้ถ้าตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษแล้วจะตีพิมพ์เป็นภาษาไทยอีก สามารถทำได้โดยขออนุญาตจากสำนักพิมพ์ก่อน พร้อมทั้งระบุให้ชัดเจนว่า งานชิ้นนี้ได้เคยตีพิมพ์แล้วเป็นภาษาอะไร ในวารสารใด การอ้างคำพูด หรือการคัดลอกข้อความ โดยใส่เครื่องหมายคำพูดกำกับไว้ (Quoting) การถอดความ (Paraphrasing) เป็นการปรับเปลี่ยนประโยค แต่ยังคงไว้ซึ่งแนวความคิดเดิม การสรุปความ (Summarizing) เป็นการสรุปเนื้อหาด้วยสำนวนของตนเอง การใช้โปรแกรมตรวจสอบการลอกทางวรรณกรรม TurnItIn เป็นโปรแกรมตรวจสอบการลอกทางวรรณกรรม โดยแสดงผลการเทียบซ้ำที่นำเสนอในระดับร้อยละ พร้อมทั้งชี้แหล่งข้อมูลที่ซ้ำ โดยเฉพาะผลงานวิจัยของนิสิต ผลงานวิชาการของนักวิชาการ บนคลังข้อมูลของ TurnItIn ที่มา : https://hw5775.com/essay-tips/plagiarism simba4d yunitoto yunitoto yunitoto yunitoto simba4d simba4d amer4d amer4d
Assessment of information sources
A Assessment of information sources การประเมินแหล่งสารสนเทศ การประเมินแหล่งสารสนเทศ 1. ความน่าเชื่อถือ – มี peer review หรือเป็นวิชาการ – บทความปรากฏบน site ที่มีผู้รับผิดชอบ – สามารถติดต่อผู้เขียนได้ 2. ความครอบคลุม/ความสอดคล้อง – ผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย เช่น นักวิชาการ ทั่วไป กลุ่มเฉพาะ – ระดับและความเหมาะสมของเนื้อหาสำหรับหัวข้อที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้า – ช่วงเวลาที่ครอบคลุม 3. อคติ/ความถูกต้องแม่นยำ – วิธีการนำเสนอสารสนเทศเป็นอย่างไร (ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น โฆษณาชวนเชื่อ) – หากเป็นข้อเท็จจริง ต้องมีความถูกต้องแม่นยำ – มีอคติด้านใดหรือไม่ เช่น การเมือง วัฒนธรรม ศาสนา หากมีได้แสดงออกอย่างชัดเจนหรือไม่ 4. ความเป็นปัจจุบัน – เป็นสารสนเทศล่าสุด หรือจำเป็นต้องเป็นปัจจุบันหรือไม่ – มีเนื้อหาบางส่วนที่ล้าสมัย หรือเก่าเกินความต้องการหรือไม่ 5. คุณภาพ – ใช้วิธีการที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา – เขียนได้อย่างชัดเจน – มีองค์กรหรือหน่วยงานที่เชื่อมต่อผลงาน – ผู้เขียนเห็นด้วยกับนักวิชาการส่วนใหญ่หรือไม่ การประเมินทรัพยากรบนอินเทอร์เน็ต 1. ผู้เขียน – มีชื่อผู้เขียน/ผู้สร้างเพจ – มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ (อาชีพ ประสบการณ์ ตำแหน่ง/การศึกษา) – ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น email – มีลิงก์หน้าโฮมเพจ – มีผู้สนับสนุน เช่น หน่วยงาน องค์กร – มีชื่อโดเมน/URL ที่แสดงแหล่งของสารสนเทศ – หากไม่ระบุเจ้าของ ต้องสามารถบอกแหล่งกำเนิดของ site จากที่อยู่ได้ 2. จุดมุ่งหมาย – กลุ่มผู้ชม หากไม่ระบุก็ต้องเป็นการให้ความรู้ สอน หรืออธิบาย 3. ความเป็นปรนัย – สารสนเทศนั้นเป็นข้อเท็จจริง ความคิดเห็นหรือโฆษณาชวนเชื่อ – ทัศนะของผู้เขียนเป็นปรนัยหรือบางส่วน – ผู้เขียนมีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรใดหรือไม่ – เนื้อหาของเพจได้รับการรับรองเป็นทางการจากสถาบันหรือองค์กร 4. ความถูกต้องแม่นยำ – แหล่งสารสนเทศที่ใช้มีรายการอ้างอิง – มีผู้รับผิดชอบสำหรับความแม่นยำ – สารสนเทศผ่านการรีวิวหรืออ้างอิง 5. ความน่าเชื่อถือ – สารสนเทศมีความน่าเชื่อถือหรือมีกรณีสนับสนุนหรือไม่ – มีการสนับสนุนจากสถาบัน เช่น มหาวิทยาลัย หน่วยงาน – มีรายการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
Research Community
R Research Community ชุมชนการวิจัย Academia Research Gate
Publication source for academic works
P Publication source for academic works แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ การจัดทำหนังสือวิชาการ การจัดทำและจำหน่ายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผ่านระบบ CU-eBook Store และ CU-eLibraryคลิปการอบรม: รอบ 1 (9 มีนาคม 2566) รอบ 2 (14 มีนาคม 2566) เอกสารประกอบการอบรมติดต่อสอบถามเพิ่มเติม: คุณปาริชาติ ผ่านพรม (หนูดี) ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยe-mail :Parichat.P@chula.ac.th การจัดทำและจำหน่ายหนังสือฉบับพิมพ์กับศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคลิปการอบรม: รอบ 1 (10 พฤษภาคม 2566)รอบ 2 (30 พฤษภาคม 2566)เอกสารประกอบการอบรมติดต่อสอบถามเพิ่มเติม: การจัดพิมพ์ตำราและหนังสือทางวิชาการ: คุณวาสนา ซำเซ็นโทร 0-2218-3269-70 มือถือ 09-22262-1584 อีเมล wasanacup@gmail.comการจ้างพิมพ์หนังสืองานทั่วไป: คุณธีภัทร์ ภู่ทองโทร 0-2218-3542 มือถือ 08-51239882 อีเมล teerapatputhong@gmail.comคอร์สออนไลน์: คุณอัจฉรา พังงา โทร 08-1826-1811 แหล่งสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงาน Journal Finder การพิจารณาวารสารเพื่อตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Elsevier Researcher Academy แนะนำสำหรับการทำวิจัยโดยสำนักพิมพ์ Elsevier การอบรมแนะนำการพิจารณาวารสาร การจัดทำบทความวารสาร และการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ การอบรมหัวข้อ “การพิจารณาคุณภาพและตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ: Targeting Journal to Publish Your Manuscript” วิทยากรโดย ดร.ยุทธพงศ์ กลิ่นธงชัย (Customer Success Manager) จากสำนักพิมพ์ Elsevier ร่วมกับสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ 19 มีนาคม 2567คลิป เอกสารประกอบการอบรม การเผยแพร่บทความวิจัยอิเล็กทรอนิกส์บนแหล่งข้อมูลประเภทไม่เสียค่าใช้จ่าย (Open Access) Read & Publish ตีพิมพ์ผลงานประเภท Open Access ฟรี! สำหรับมหาวิทยาลัย/สถาบันในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ACM Read & Publishตีพิมพ์บทความ Open Access ในวารสาร นิตยสาร หรือรายงานการประชุมวิชาการ ของสำนักพิมพ์ ACM (Association for Computing Machinery) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่จำกัดจำนวนบทความและระยะเวลา ACS Read & Publish ตีพิมพ์บทความ Open Access ในวารสารของสำนักพิมพ์ ACS (American Chemical Society)โดยไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวน 176 บทความ (รวมทุกสถาบันที่เป็นสมาชิกจำนวน 78 แห่ง) เปิดรับบทความถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 หรือมีผู้ส่งบทความเต็มจำนวนที่กำหนด เงื่อนไขการตีพิมพ์: 1. Corresponding Author ต้องสังกัดมหาวิทยาลัย/สถาบันที่เป็นสมาชิก2. วารสารที่ตีพิมพ์จะต้องมีชื่ออยู่ใน Scimago Journal Rank (SJR) Quatile 1 เท่านั้นรายละเอียด: คลิปอบรมแนะนำรายละเอียดจากสำนักพิมพ์ เอกสารประกอบการอบรม ACS Read & Publish Agreement: Thailand Consortium คลิปแนะนำการตีพิมพ์ภายใต้สัญญาสำหรับเจ้าของผลงาน นอกจากนี้อาจารย์ นักวิจัย และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สามารถตัดสินใจเลือกตีพิมพ์บทความวิจัยบน Open Access ที่ปัจจุบันมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง มีผู้อ่านบทความจำนวนมาก ใช้เวลาที่รวดเร็วกว่าในการตีพิมพ์ รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ด้วย Clute Institute ตีพิมพ์บทความในสาขาการศึกษา ธุรกิจ และวิทยาศาสตร์ โดยทุกบทความผ่าน peer review รวมทั้งบทความในการประชุมนานาชาติDe Gruyter ตีพิมพ์บทความในสหสาขาวิขา โดยทุกบทความผ่าน peer reviewElsevier ตีพิมพ์บทความในสหสาขาวิขา โดยทุกบทความผ่าน peer review สามารถเข้าถึงและดาวน์โหลดผ่านฐานข้อมูล ScienceDirctHindawi ตีพิมพ์บทความในสหสาขาวิขา โดยทุกบทความผ่าน peer review พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดของวารสารแต่ละชื่อ ตั้งแต่ระดับการเป็นทียอมรับ ระยะเวลา ค่าการอ้างถึง (Cite Score) และค่า Impact FactorMDPI ตีพิมพ์บทความวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ เคมี สิ่งแวดล้อม สุขภาพ เกษตรกรรม ยา ฟิสิกส์ เป็นต้นOJEMB เป็นวารสารทางด้านวิศวกรรมของ IEEE ที่มุ่งเน้นสาขาวิชาด้านการแพทย์และชีววิทยา ที่ครอบคลุมพัฒนาการและการประยุกต์ใช้แนวความคิดทางวิศวกรรมและวิธีการทางชีววิทยา การแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อแก้ปัญหาด้านชีววิทยา การแพทย์และการดูแลสุขภาพPeerJ ตีพิมพ์วารสารวิจัยในสาขาชีววิทยา ชีวิตวิทยา (Life Science) สิ่งแวดล้อมวิทยา และการแพทย์PeerJ Computer Science ตีพิมพ์บทความวิจัยในสหสาขาวิชาตั้งแต่ปี 2015 มีการทำดัชนีบทความลงในฐานข้อมูลดัชนี ได้แก่ Scopus, Web of Science, Google Scholar, CuteSeerX, OCLC, DOAJ, Proquest Database, Inspec และ SceienceOpen PeerJ Chemistry PeerJ Analytic Chemistry PeeJ Inorganic Chemistry PeerJ Materials Science PeerJ Organic Chemistry PLOS ตีพิมพ์บทความวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์Research Publish Journal ตีพิมพ์บทความสหสาขาวิขา โดยทุกบทความผ่าน peer reviewSage Open ตีพิมพ์บทความวิจัยในสาขาการศึกษา การสื่อสาร จิตวิทยา ธุรกิจและการจัดการ มนุษยศาสตร์ สังคมวิทยา สังคมวิทยาเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วย สารสนเทศศาสตร์ และอาชญากรรม โดยมีการทำดัชนีบทความใน Clarivate Analytics: Social Science Citation Index, DOAJ, ERIC, ProQuest, และ Scopus Springer Nature ตีพิมพ์บทความสหสาขาวิขา โดยทุกบทความผ่าน peer review สามารถเข้าถึงและดาวน์โหลดผ่านฐานข้อมูล Springer NatureTaylor&Francis ตีพิมพ์บทความสหสาขาวิขา โดยทุกบทความผ่าน peer reviewWilly Open Access ตีพิมพ์บทความสหสาขาวิขา โดยทุกบทความผ่าน peer review สามารถเข้าถึงและดาวน์โหลดผ่านฐานข้อมูล Willy รายชื่อวารสารบน Open Accesshttps://en.wikipedia.org/wiki/List_of_open-access_journalshttps://www.omicsonline.org/top-best-open-access-journals.php ประเภทของ Open AccessPre-print ต้นฉบับร่างที่ยังไม่ผ่าน peer review ที่ส่งเผยแพร่เพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับจาก peersPost-print ต้นฉบับร่างที่ผ่าน peer review แล้วVersion of Record (VOR) ต้นฉบับชุดท้ายสุดหลังจากผ่านการอ่านของ peers แล้วส่งให้สำนักพิมพ์Hybrid ประเภทของวารสารที่บทความที่แท้จริงอยู่บน open access ขณะที่บทความอื่น ๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงAccepted author manuscript ต้นฉบับชุดท้ายสุดที่ได้รับการยอมรับตีพิมพ์ของสำนักพิมพ์Eprint ชุดดิจิทัลของเอกสารวิจัยแบบออนไลน์สำหรับการจัดเก็บGreen OA การทำชุดต้นฉบับร่างที่สามารถเข้าถึงเสรีผ่านที่จัดเก็บGold OA การทำต้นฉบับชุดท้ายสุดให้เข้าถึงได้ทันทีอย่างเสรีโดยสำนักพิมพ์Gratis OA บทความพร้อมให้อ่านแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย แม้ว่าจะมีข้อจำกัดของคำว่า “All Rights Reserved”Libre OA บทความพร้อมให้เข้าถึงบนลิขสิทธิ์แบบเปิด อนุญาตให้แบ่งปันและใช้ซ้ำได้Diamond OA รูปแบบของการเข้าถึงแบบเปิดที่ไม่คิดค่าใช้จ่ายของผู้เขียน
Research grant
R Research grant แหล่งทุนวิจัย ภายใน บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย ภายนอก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิเทโรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนวิจัยมุ่งเป้า ทุนบัณฑิตศึกษา ทุนความร่วมมือระหว่างภายใต้ MOU กรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิจัย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช) สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถาบันพลาสติก Bill & Melinda Gates Foundation Burroughs Wellcome Fund European Research Council European Society for Medical Oncology Fulbright International Development Research Centre –IDRC Japan Society for the Promotion of Science Mendeley The National Academies of Sciences, Engineering, Medicine National Science Foundation Spencer Foundation UNESCO: Japan Young Fellowship Fund USAID World Cancer Research Fund International วิธีเขียนขอทุนวิจัย การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ศ.เฉลิมพล แซมเพชร เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยให้โดนใจกรรมการ ศ.ดร. สุวิมล ว่องวาณิช เทคนิคการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อการพิชิตทุน / ผู้แต่ง อนงค์ อภิบาล และคนอื่นๆ (Call no. 001.04 อ153ท 2559) หลักการเขียนข้อเสนอการวิจัย และหลักการประยุกต์งานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ ดร. ธนิษฐา ดิษสุวรรณ์ University Ranking Times Higher Education (THE) Scimago Institutions Rankings
Research Sources
R Research Sources แหล่งข้อมูลการวิจัย คลังสถาบัน มศว (SWU IR) ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (THAIJO) ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ในประเทศไทย (TDC) [นอกเครือข่าย-เชื่อมต่อSWUVPN] วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มศว (SWU e-Journals) เว็บไซต์การศึกษาของประเทศไทย ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) สหบรรณานุกรมห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทย (UCTAL) ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย แหล่งทรัพยากรอื่นๆ ของประเทศไทย แหล่งวิทยานิพนธ์และงานวิจัยฟรี Academic Index CrossRef DOI.org Education Resources Information Center Google Book Google Scholar Infotopia Lexis Web Microsoft Academic Search Paperity Project Muse Journals Pubmed Central Refseek Virtual Learning Resources Center ขอเลข ISBN/ISSN/CIP