T
Turnitin
บริการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดให้บริการโปรแกรม Turnitin จำนวน 2 บริการ ได้แก่
บริการที่ 1 ตรวจการคัดลอกผลงานทางวิชาการด้วยตนเอง (Student Account)
สำหรับอาจารย์/บุคลากร/นิสิต มศว ที่ต้องการนำผลงานของตนเองส่งตรวจในโปรแกรม Turnitin
บริการที่ 2 การใช้งานโปรแกรม Turnitin สำหรับอาจารย์ผู้สอน (Instructor Account)
บริการเฉพาะอาจารย์ที่ต้องการเปิด Class เพื่อให้นิสิตส่งผลงานตรวจในโปรแกรม Turnitin โดยอาจารย์สามารถดูผลตรวจการคัดลอกผลงานของนิสิตแต่ละคนได้
บริการที่ 1 ตรวจการคัดลอกผลงานทางวิชาการด้วยตนเอง (Student Account)
ลักษณะการใช้งาน: สำหรับอาจารย์/บุคลากร/นิสิต มศว ที่ต้องการนำผลงานของตนเองส่งตรวจในโปรแกรม Turnitin
**ขอให้ผู้ใช้บริการศึกษาคู่มือแนะนำการใช้ก่อนใช้บริการ** (คู่มือสำหรับ Student Account)
ขั้นตอนการใช้บริการ:
1. ขอ Class ID และ Enrollment Key เพื่อใช้บริการตรวจสอบการคัดลอกผลงานด้วยโปรแกรม Turnitin
1.1 ผู้ตรวจผลงานต้องเป็นอาจารย์/บุคลากร/นิสิต ของ มศว และต้องใช้อีเมล @g.swu.ac.th ในการสมัครและตรวจผลงานเท่านั้น
Note: กรณียังไม่มีอีเมลของมหาวิทยาลัยหรือลืมรหัสผ่าน ดูรายละเอียดที่หัวข้อ “การขออีเมล @g.swu.ac.th ของมหาวิทยาลัย” ที่อยู่ด้านล่าง
1.2 กรอก “แบบฟอร์มขอ Class ID และ Enrollment Key เพื่อใช้บริการตรวจสอบการคัดลอกผลงานด้วยโปรแกรม Turnitin” คลิก
Note: 1) ต้องลงชื่อเข้าใช้งานด้วยอีเมล @g.swu.ac.th หรือ @m.swu.ac.th จึงจะสามารถเปิดใช้งานแบบฟอร์มได้
2) Class ID และ Enrollment Key จะมีกำหนดวันหมดอายุ หากครบกำหนดวันหมดอายุแล้วแต่ยังต้องการตรวจผลงานอยู่
สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อขอ Class ID และ Enrollment Key ใหม่ได้ (ห้องสมุดจะเปลี่ยนรหัสผ่านทุกเดือน)
2. นำ Class ID และ Enrollment Key ที่ได้ไปใช้บริการตรวจสอบการคัดลอกผลงานด้วยโปรแกรม Turnitin
กรณีเป็นการใช้งานครั้งแรก ให้ดำเนินการตามข้อ 2.1 ก่อน กรณีเคยมี Student Account สำหรับใช้งานแล้วให้ดำเนินการตามข้อ 2.2
2.1 กรณีการใช้งานครั้งแรกยังไม่มี Account การใช้งานโปรแกรม Turnitin
1) สมัครเข้าใช้โปรแกรม Turnitin คลิก
2) เลือก Create Account เป็น Student
3) กรอก Class ID และ Enrollment Key ที่ได้จากห้องสมุด (จากการดำเนินการในข้อ 1.2)
พร้อมกับกรอกข้อมูลต่าง ๆ สำหรับการสมัครใช้งานโปรแกรม
4) หลังจากสมัคร Student Account เพื่อใช้งานเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการ Log in เข้าโปรแกรม Turnitin เพื่อส่งผลงานตรวจตามต้องการ (คู่มือสำหรับ Student Account)
2.2 กรณีมี Student Account การใช้งานโปรแกรม Turnitin แล้ว สามารถเข้าใช้งานได้เลย
1) Log in เข้าโปรแกรม Turnitin คลิก
2) คลิกที่แถบเมนู Enroll in a Class และกรอก Class ID และ Enrollment Key ที่ได้จากห้องสมุด (จากการดำเนินการในข้อ 1.2)
เพื่อส่งผลงานตรวจตามต้องการ (คู่มือสำหรับ Student Account)
บริการที่ 2 การใช้งานโปรแกรม Turnitin สำหรับอาจารย์ผู้สอน (Instructor Account)
ลักษณะการใช้งาน: ให้บริการเฉพาะอาจารย์ที่ต้องการเปิด Class เพื่อให้นิสิตส่งผลงานตรวจในโปรแกรม Turnitin
โดยอาจารย์สามารถดูผลตรวจการคัดลอกผลงานของนิสิตแต่ละคนได้
ขั้นตอนการใช้บริการ:
1. การลงทะเบียนเพื่อขอเปิดบัญชีผู้ใช้ใหม่ (Create Account) (สำหรับอาจารย์เท่านั้น)
1.1 กรอกแบบฟอร์มเพื่อขอสิทธิ์การเป็น Instructor คลิก
1.2 หลังจากทางห้องสมุดเปิดสิทธิ์ให้แล้ว ระบบจะส่งอีเมลไปยังอาจารย์เพื่อให้ทําการตั้งค่าบัญชีผู้ใช้ด้วยตนเอง
1.3 อาจารย์สามารถสร้าง Class ตามต้องการ **ขอความกรุณาตั้งค่าต่าง ๆ เพื่อสร้าง Class ตามคู่มือเท่านั้น**
คู่มือการใช้งาน Turnitin สำหรับอาจารย์ผู้สอน (Instructor Account) คลิก
2. การให้นิสิตส่งผลงานตรวจใน Class ของอาจารย์
นิสิตจะส่งผลงานตรวจด้วย Student Account โดยจะต้องขอ Class ID และ Enrollment Key จากอาจารย์ผู้สอน
คู่มือการใช้งาน Turnitin สำหรับอาจารย์ผู้สอน (Instructor Account) คลิก
คู่มือ/คลิปแนะนำวิธีการใช้โปรแกรม Turnitin
- คู่มือการตรวจการคัดลอกผลงานวิชาการด้วยตัวเอง (Student Account)
- คลิปแนะนำการตรวจการคัดลอกผลงานวิชาการด้วยตนเอง (Student Account)
- คู่มือการใช้งานโปรแกรม Turnitin สำหรับอาจารย์ผู้สอน (Instructor Account)NEW
- แนะนำการใช้งาน Instructor Account NEW
- รวมคลิปการอบรมและแนะนำการใช้โปรแกรม Turnitin
- Plagiarism NEW
- คำถามที่พบบ่อย
รายละเอียดในการตรวจผลงาน
- สามารถตรวจผลงานด้วยตนเองได้ไม่จำกัดครั้ง แต่ครั้งที่ 4 เป็นต้นไป ต้องใช้เวลารอผลตรวจ 24 ชั่วโมง
- หลังจาก Class ID หมดอายุการใช้งานแล้ว บรรณารักษ์จะดำเนินการลบ Account ออกเพื่อหมุนเวียนการใช้งาน หากต้องการใช้งานอีกครั้งให้ดำเนินการ กรอกรายละเอียดในการขอ Class ID และ Class Enrollment Key ใหม่อีกครั้ง
- กรณีนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาพบปัญหาในการตรวจปริญญานิพนธ์/สารนิพนธ์หรือมีคำถามเกี่ยวกับผลการตรวจให้ติดต่อทางบัณฑิตวิทยาลัย เบอร์โทรศัพท์: 094-795-9362 หรืออีเมล: grad@g.swu.ac.th
รายละเอียดของการส่งไฟล์ผลงาน
- ตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษโดยใช้ชื่อของตนเอง (กรณีแยกเป็นหลายไฟล์ ให้ระบุคำประกอบเพื่อให้เห็นความแตกต่าง เช่น Somjai Chap1, Somjai Chap2 เป็นต้น)
- ขนาดไฟล์ต้องไม่เกิน 40 MB กรณีผลงานมีขนาดยาวและมีการแบ่งเป็นบท ควรแยกไฟล์ออกเป็นบทก่อน และจำนวนหน้าในแต่ละไฟล์ต้องไม่เกิน 400 หน้า
- ขนาดไฟล์เล็กที่สุดต้องมีอย่างน้อย 20 คำ จึงจะตรวจสอบได้
- ประเภทของไฟล์ที่ตรวจสอบได้แก่ Microsoft Word, PDF, OpenOffice (ODT) และ Google Docs
การขออีเมล @g.swu.ac.th ของมหาวิทยาลัย
- สมัครได้ที่: https://account.swu.ac.th/login (ใช้บัวศรีไอดีในการสมัคร)
- กรณีลืมรหัสผ่าน ดูรายละเอียดได้ที่: https://account.swu.ac.th/
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
สำนักหอสมุดกลาง : เคาน์เตอร์บริการตอบคำถาม ชั้น 2
โทร: 02-258-4002-3, 02-260-4514 มือถือ 063-801-3030
อีเมล: asklibrarian@g.swu.ac.th เฟซบุ๊ก: https://www.facebook.com/libswu/
ห้องสมุดองครักษ์ : อัมพร ขาวบาง หรือ ยุภาภรณ์ ไชยสงค์
โทร: 02-649-5000 ต่อ 27233, 02-649-5421, 083-434-3752
อีเมล: oklib@g.swu.ac.th เฟซบุ๊ก: https://www.facebook.com/oklib.swu.ac.th
2. ขั้นตอนการสมัครเข้าใช้งานโปรแกรม TurnitinStudent Account
โปรแกรม Turnitin คือ โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ โดยการเปรียบเทียบและตรวจสอบข้อความที่ซ้ำซ้อนของผลงานวิชาการที่ต้องการกับผลงานวิชาการของผู้อื่นที่อยู่ในรูปออนไลน์จากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลงานวิชาการที่อยู่ในคลังข้อมูลของ Turnitin สื่อสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทริโรฒ ได้เริ่มบอกรับโปรแกรม Turnitin ตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 เพื่อให้นิสิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัยได้ตรวจสอบผลงานของตนเองก่อนการนำเสนอต่อไป
ข้อกำหนดในการให้บริการ
1. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยบรรณารักษ์เป็นผู้ดูแลการใช้งานและดำเนินการในการสร้าง Class ID และ Class Enrollment Key
2. กำหนดให้ใช้อีเมลของมหาวิทยาลัยเท่านั้น (@g.swu.ac.th) ในการลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานโปรแกรม Turnitin
3. สิทธิการเข้าใช้งานโปรแกรม Turnitin ที่สำนักหอสมุดกลางบอกรับ
Student (ผู้ส่งตรวจสอบผลงาน) จำนวน 300 accounts*
Instructor (ผู้ตรวจสอบผลงาน) จำนวน 30 accounts
*กรณีที่มี Student Accounts ใดที่ไม่ต้องการใช้งาน หรือใช้งานเรียบร้อยแล้ว ให้ Instructor ลบออกจากระบบ เพื่อให้สิทธิในการใช้งานกลับคืนมา
4. แหล่งข้อมูลออนไลน์ที่ใช้สำหรับเปรียบเทียบและตรวจสอบผลงาน ประกอบด้วย 3 แหล่ง ได้แก่
4.1 คลังข้อมูลของ Turnitin
4.2 สื่อสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
4.3 แหล่งข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตทั้งปัจจุบันและย้อนหลัง
5. ขอบเขตของการตรวจสอบผลงาน จะละเว้นการตรวจสอบข้อมูลในส่วนที่เป็นรายการเอกสารอ้างอิงหรือรายการบรรณานุกรม และข้อความที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูดหรืออัญประกาศ ทั้งนี้ หากผู้ใช้บริการให้ตรวจสอบข้อมูลในส่วนดังกล่าว สามารถแจ้งเพิ่มเติมได้ที่บรรณารักษ์
6. รายละเอียดของการส่งไฟล์ผลงาน
6.1 ตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษโดยใช้ชื่อของตนเอง (กรณีแยกเป็นหลายไฟล์ ให้ระบุคำประกอบเพื่อให้เห็นความแตกต่าง เช่น Somjai Chap1, Somjai Chap2 เป็นต้น)
6.2 ขนาดไฟล์ต้องไม่เกิน 40 MB กรณีผลงานมีขนาดยาวและมีการแบ่งเป็นบท ควรแยกไฟล์ออกเป็นบทก่อน และจำนวนหน้าในแต่ละไฟล์ต้องไม่เกิน 400 หน้า
6.3 ขนาดไฟล์เล็กที่สุดต้องมีอย่างน้อย 20 คำ จึงจะตรวจสอบได้
6.4 ประเภทของไฟล์ที่ตรวจสอบได้แก่ Microsoft Word, PDF, OpenOffice (ODT) และ Google Docs
7. การพิจารณาผลการตรวจสอบจากโปรแกรม Turnitin ในกรณีเป็นปริญญานิพนธ์ สารนิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ บทความวิชาการ หรืองานที่นิสิตได้รับมอบหมาย จะขึ้นอยู่กับอาจารย ที่ปรึกษาหรืออาจารย์ผู้สอน
พบปัญหาการใช้หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติม:
สำนักหอสมุดกลาง : เคาน์เตอร์บริการตอบคำถาม ชั้น 2
โทร: 02-6495443
อีเมล: asklibrarian@g.swu.ac.th เฟซบุ๊ก: https://www.facebook.com/libswu/
ห้องสมุดองครักษ์ : อัมพร ขาวบาง หรือ ยุภาภรณ์ ไชยสงค์
โทร: 02-649-5421, 083-434-3752, 02-649-5000 ต่อ 27232
อีเมล: oklib@g.swu.ac.th เฟซบุ๊ก: https://www.facebook.com/oklib.swu.ac.th
คู่มือสำหรับบรรณารักษ์
แนวทางการบริหารจัดการเพื่อให้บริการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการด้วยโปรแกรม Turnitin
คู่มือการใช้โปรแกรม Turnitin เพื่อการให้บริการ สำหรับบรรณารักษ์
คู่มือบริการแบบที่ 1 บรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบผลงานให้
คู่มือบริการแบบที่ 2 ตรวจสอบผลงานด้วยตนเอง (สำหรับอาจารย์/บุคลากร)
คู่มือการตรวจสอบผลงานสำหรับ Instructor
รวมคู่มือ/แนะนำการใช้
รายงานการขอใช้บริการจากผู้ใช้
บริการแบบที่ 1 / บริการแบบที่ 2 / บริการ Instructor/ รายงานการตรวจผลงานด้วยตนเอง
คู่มือ ithenticate