Author Archives: admin

บริการอย่างไรให้ประทับใจ

1. ด้านการให้บริการ
1.1 บริการสืบค้นข้อมูล : ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลตรงกับความต้องการและสามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง

สอบถามความต้องการของผู้ใช้ให้ชัดเจนเพื่อความถูกต้อง และตรงประเด็นให้การค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ รวมถึงให้คำแนะนำวิธีการค้นหาข้อมูลที่เน้นการให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้ และสามารถค้นหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นหรือต่อยอดการค้นหาข้อมูลตามที่ต้องการได้ต่อไป

1.2 คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ใช้เป็นหลัก

1) ชี้แหล่งข้อมูลสารสนเทศอื่นๆ ให้ผู้ใช้นอกเหนือจากที่มีภายในห้องสมุด
2) เสนอทางเลือกให้กับผู้ใช้ในกรณีมีช่องทางเลือกมากกว่า 1 ช่องทาง
3) ช่วยเหลือผู้ใช้บริการอย่างเต็มที่และมีความยืดหยุ่นในการให้บริการตามความเหมาะสม

1.3 บริการด้วยมาตรฐานเดียวกัน

     1) ผู้ให้บริการทุกคนจะต้องทราบระเบียบ ขั้นตอน และแนวทางในการให้บริการที่ตรงกัน เพื่อการให้บริการเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่งผลให้ผู้ใช้ทุกคนได้รับการบริการตามมาตรฐานเดียวกันและไม่ทำให้เกิดความสับสนกับผู้ใช้ ทั้งนี้จะต้องมีการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการทุกคนอย่างสม่ำเสมอเพื่อทราบถึงระเบียบ ขั้นตอนของการให้บริการแต่ละบริการ รวมทั้งข่าวสารที่เป็นปัจจุบันในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับบริการของสำนักหอสมุดกลาง การสื่อสารดังกล่าวอาจอยู่ในรูปของบอร์ดประชาสัมพันธ์ข่าวสาร แฟ้มรวมคู่มือ/ขั้นตอน/ของการบริการต่างๆ หรือเว็บไซต์ ที่ผู้ให้บริการทุกคนสามารถรับทราบหรือติดตามได้

     2) ให้ความเสมอภาคในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการทุกระดับโดยไม่คำนึงถึงฐานะ ตำแหน่ง เชื้อชาติ ศาสนา หรือสังคม

1.4 บริการฉับไว ถูกต้อง

สืบเนื่องจากการมีมาตรฐานในการให้บริการ เมื่อผู้ให้บริการทุกคนทราบระเบียบ ขั้นตอน และแนวทางในการให้บริการแต่ละบริการที่ตรงกัน การให้บริการก็จะฉับไวและถูกต้อง

1.5 บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ให้ได้มากที่สุดตามขอบเขตที่เหมาะสม

หลีกเลี่ยงการส่งต่อผู้ใช้ให้เดินไปมาตามจุดต่างๆ หากบริการใดที่สามารถอำนวยความสะดวกในการบริการได้จุดเดียว ก็ควรปฏิบัติ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะต้องติดต่อจุดที่ต้องการส่งต่อผู้ใช้ให้รับทราบและมีผู้รอรับก่อนที่ผู้ใช้จะเดินไป

1.6 เอาใจใส่ผู้ใช้บริการ

     1) หมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้ใช้เพื่อให้บริการได้อย่างเหมาะสม เช่น ผู้ใช้ที่ไม่ถนัดในการค้นหาข้อมูลจากเครื่องสืบค้น ผู้ใช้หาหนังสือไม่เจอบนชั้น เป็นต้น ให้รีบเข้าไปช่วยเหลือทันที ไม่แบ่งแยกชนชั้น ไม่เลือกปฏิบัติ

     2) การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องนึกถึงความรู้สึกของผู้ใช้ที่มาใช้บริการ ซึ่งมุ่งหวังได้รับความสะดวก รวดเร็วและถูกต้อง ด้วยไมตรีจากผู้ให้บริการ ติดตามงานและให้ความสนใจต่อการให้บริการอย่างเต็มที่

1.7 มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใช้

     1) มีมนุษย์สัมพันธ์ดี หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส พร้อมกล่าวทักทายผู้ใช้บริการ สื่อสารกับผู้ใช้บริการด้วยคำพูด น้ำเสียง หรือกิริยาท่าทางที่สุภาพเป็นมิตรเป็นกันเอง ใส่ยิ้มลงไปในน้ำเสียง แสดงให้ผู้ใช้รับรู้ถึงความเต็มใจและความกระตือรือร้นที่จะให้บริการ

     2) บริการใดที่ต้องใช้เวลาจะต้องมีการติดตามหรือส่งต่อการให้บริการจนสำเร็จลุล่วง หากไม่สามารถทำได้รวดเร็วอาจด้วยระเบียบขั้นตอนหรือเหตุผลใดใด ต้องชี้แจงให้ผู้ใช้ทราบด้วยวาจาที่สุภาพ และแสดงความตั้งใจจะช่วยเหลือ

2. ด้านผู้ให้บริการ

2.1 มีบุคลิกภาพและการแต่งกายที่เหมาะสม
2.2 ไม่ควรพูดคุยกันเองขณะปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงไม่ควรคุยกันเสียงดังจนรบกวนการอ่านและการค้นคว้าของผู้ใช้
2.3 สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี
2.4 มีใจรักงานบริการและมีความซื่อสัตย์สุจริต

3. ด้านสถานที่

3.1 จัดบรรยากาศพื้นที่การให้บริการให้น่าสนใจ ชวนให้น่าเข้าใช้บริการ
3.2 พื้นที่และวัสดุอุปกรณ์ที่ให้บริการมีความสะอาดเรียบร้อย
3.3 มีป้ายประชาสัมพันธ์อำนวยความสะดวกในการใช้บริการ
3.4 วัสดุอุปกรณ์ในส่วนของผู้ให้บริการ นอกจากจะสะอาดสะอ้านแล้ว ควรจะจัดวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการหยิบใช้ซึ่งจะส่งผลต่อการให้บริการที่รวดเร็ว

4. ด้านการประเมินผล

ควรมีการติดตามและประเมินผลความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการเป็นระยะ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและผลสะท้อนกลับว่ามีบริการส่วนใดต้องปรับปรุงแก้ไข หากมีการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ใช้บริการจะส่งผลให้ผู้ใช้บริการรู้สึกว่าห้องสมุดให้ความสำคัญกับผลการประเมินและตัวผู้ใช้บริการ

 

“เทคนิคการซ่อมหนังสืออย่างง่าย”

การจัดการความรู้ของงานบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

เรื่อง  “เทคนิคการซ่อมหนังสืออย่างง่าย”

ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2555 – มีนาคม 2556

ณ สำนักหอสมุดกลาง

ผู้เข้าร่วม

  1. บุคลากรกลุ่มงานซ่อมบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ จำนวน 4 คน
  2. บุคลากรกลุ่มงานจัดชั้น จำนวน 12 คน

ลักษณะการจัดกิจกรรม

เป็นการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มงานทั้ง 2 งาน   เมื่อวันที่ 3 – 14 ธันวาคม 2556  โดยแบ่งกลุ่มงานจัดชั้นออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 นายสามารถ พุกพญา นายจักรกฤษ เปมะวิภาต นายสุรชัย หาบ้านแท่นนายสุรพงษ์ พิมพ์โคตร

กลุ่มที่ 2 นายปิยะรักษ์ หอมหวล นายสนธิชัย คำมณีจันทร์ นายเกียรติศักดิ์  หงษ์อินทร์  นางบงกชรัตน์ อุดสัย

กลุ่มที่ 3 นายเดชณรงค์ อมเพชร นายกิตติศักดิ์ ก้าวกระโทก นายยมนา ปริอารามนายอภิเดช จันทร์ศิริ

หัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. การพิจารณาคัดแยกประเภทหนังสือชำรุด
1.1  หนังสือตัวเล่มหลุดออกจากปก
1.2 หนังสือที่มีชำรุดที่บริเวณสันหนังสือเช่น สันฉีกขาด
1.3 หนังสือที่ปกและสันชำรุดฉีกขาด

2. วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อม
2.1 คัตเตอร์
2.2 กรรไกร
2.3 กาวลาเท็กซ์
2.4 แปรงทากาว
2.5 ไม้เนียน
2.6 กระดาษขาวขนาด 120 แกรม
2.7 ผ้าสาลู
2.8 ผ้าคิ้ว

3. ขั้นตอนการซ่อม
3.1 ทำความสะอาดที่ปกและตัวเล่มหนังสือ
3.2 เช็คดูว่าตัวมีการเจาะหรือยังถ้ายังให้นำเจาะและเย็บให้เรียบร้อย
3.3 นำตัวเล่มไปติดใบรองปกและตัดให้เสมอกับตัวเล่มทั้ง2ด้าน
3.4 ตัดผ้าคิ้วและผ้าสารูแล้วนำมาติดที่ตัวเล่ม
3.5 ทากาวที่ปกหนังสือแล้วเชื่อมตัวเล่มติดกับปกหนังสือแล้วนำวัสดุที่น้ำหนักพอสมควรมาวางทับไว้ประมาณ 5 – 6 ชั่วโมงเพื่อตัวปกไม่โค้งงอในขณะที่กำลังจะแห้ง
3.6 แล้วนำมาติดใบรองปกกับปกหนังสือแล้วเช็ดให้เรียบ

           หลังจากนั้นในวันที่ 3 มกราคม 2556 มีการให้อุปกรณ์การซ่อมหนังสือแก่เจ้าหน้าที่ประจำชั้นที่เข้าร่วมกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินกิจกรรม
งานบริหารจัดการฯ ได้กำหนดให้งานบริการฯ ดำเนินงานซ่อมอย่างง่าย มีระยะเวลา 1 เดือน จึงได้จัดการประชุมร่วมกันอีกครั้งเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้รายงานผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.บุคลากรกลุ่มงานจัดชั้นมีงานประจำชั้นค่อนข้างมาก ทำให้มีการซ่อมเล็กมีจำนวนไม่มาก
2.หนังสือบนชั้นมีลักษณะที่ต้องส่งกลุ่มงานซ่อมฯ มากกว่า
3.กรณีที่ซ่อมเล็กน้อย บุคลากรกลุ่มงานจัดชั้นยังขาดทักษะ ทำให้ตัวเล่มหนังสือกับปกหนังสือติดกันไม่สนิทไม่นานก็ชำรุดอีก
4.บุคลากรงานซ่อมบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศต้องติดตามดูแลบุคลากรกลุ่มงานจัดชั้นอีกระยะหนึ่ง

…………………………………….

 

กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมองค์กร “บริการอย่างไรให้ประทับใจ”

 

การจัดการความรู้ของงานบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

เรื่อง “การบริการอย่างไรให้ประทับใจ”

ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2555 –  มีนาคม 2556

สำนักหอสมุดกลาง 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

            บุคลากรงานบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศจำนวน 27 คน

การดำเนินกิจกรรม

             กิจกรรมการจัดการความรู้ของงานบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ  ได้ให้แต่ละกลุ่มงาน คือ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารเทศ กลุ่มงานซ่อมบำรุงทรัพยากรสารสนเทศ  กลุ่มงานสร้างฐานฯ และกลุ่มงานวิเคราะห์ฯ ประชุมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันภายในกลุ่ม เพื่อหาแนวทางการให้บริการที่ประทับใจ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2555 – มกราคม 2556   แต่ละกลุ่มงานได้นำเสนอรายงานในที่ประชุมของงานบริหารจัดการฯ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556  หลังจากนั้นที่ประชุมได้ตั้งคณะทำงานขึ้นจำนวน 6 คน โดยมีตัวแทนแต่ละกลุ่มงานเข้าร่วม ประกอบด้วย

1.นางสาวสุประภา ศรีทอง ประธาน

2.นายจักรกริช รอดพุฒ กลุ่มงานซ่อมบำรุงรักษทรัพยากร

3.นางณัฐธยาน์ ไกรลาสสุวรรณ กลุ่มงานสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ

4.นางนภพรรษ สุดปาน กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

5.นางมาลินี ภูหมั่นเพียร กลุ่มงานวิเคราะห์และจัดทำฐานข้อมูลฯ

6.นางสาวอัษนีย์ งึมกระโทก เลขานุการ

โดยมีหน้าที่ดังนี้

1.รวบรวมแนวปฏิบัติของแต่ละกลุ่มงาน

2. สรุปแนวปฏิบัติรวมของงานบริหารจัดการฯ นำเสนอที่ประชุมของงานในครั้งต่อไป

คณะทำงานได้สรุปแนวทางการให้บริการและนำเสนอในที่ประชุมของงานฯ      เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2556  โดยประธานได้รายงานว่าจากการประชุมของคณะทำงานได้มีการศึกษาแนวปฏิบัติของแต่ละกลุ่มงาน พร้อมทั้งพิจารณาถึงค่านิยมของสำนักหอสมุดกลาง คือ “WE CARE” และจรรยาบรรณบุคลากรห้องสมุด

แนวในการให้บริการที่ดีมีดังนี้

1. การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใช้     มีการทักทายด้วยถ้อยคำที่สุภาพ  แสดงความกระตือรือร้นและพร้อมที่จะให้บริการ โดยไม่เลือกปฏิบัติ

2. การสื่อสารกับผู้ใช้    มีการสอบถามในสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการให้ชัดเจนและตรงประเด็น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ผู้ใช้ต้องการ

3. ปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามกระบวนงานของแต่ละกลุ่มงาน ให้มีประสิทธิภาพบุคลากรทุกคนจะต้องทราบขั้นตอน และแนวทางในการปฏิบัติงานของแต่ละงานที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อให้เกิดการบริการที่ประทับใจ

 

กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมองค์กร “บริการอย่างไรให้ประทับใจ”

การจัดการความรู้ของงานวารสาร   

เรื่อง “บริการอย่างไรให้ประทับใจ”

วันที่ 8 มีนาคม 2556

เวลา 09.00-10.30 น. ณ ห้อง 305 สำนักหอสมุดกลาง

ผู้เข้าร่วม

1.  นางมัณฑนา           เจริญแพทย์

2.  นางสาวสุภาพรรณ   กาญจนวงศ์

3.  นางประภัสสร        อ้วนวงษ์

4.  นางสาววรุณพรรณ   พองพรม

 

เนื่องจากงานวารสารเป็นงานที่มีหน้าที่ให้บริการวารสารแก่ผู้ใช้  ประธานจึงขอให้ช่วยกันระดม

ความคิดเห็นว่า  แนวทางการบริการที่ประทับใจนั้นควรจะเป็นอย่างไร   โดยกำหนดกิจกรรมว่า หากผู้ใช้บริการมาติดต่อขอใช้วารสารฉบับล่วงเวลา   ผู้ให้บริการควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร ตั้งแต่การแสดงอาการยิ้มแย้มแจ่มใส การทักทาย การใช้คำพูด  เป็นต้น

ที่ประชุม  ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและสามารถสรุปแนวทางการให้บริการเพื่อสร้างความประทับใจ

ให้แก่ผู้ใช้ เมื่อมาติดต่อขอใช้บริการยืม-คืนวารสารฉบับล่วงเวลา  ดังนี้

  1. แสดงอาการยิ้มแย้มแจ่มใส
  2. ทักทายผู้ใช้ด้วยการซักถามด้วยภาษาที่สุภาพ ด้วยความเป็นมิตร  ใส่ยิ้มลงไปในน้ำเสียง เช่น

-การใช้คำพูดว่า  ต้องการติดต่อเรื่องอะไร  มีอะไรให้ช่วยไหมคะ

-หากผู้ใช้ต้องการถ่ายเอกสาร  ควรแจ้งด้วยว่า ห้องสมุดมีบริการอยู่ที่ชั้น 3 และชั้น 5

3.   หากผู้ใช้ต้องการค้นวารสาร/บทความที่ไม่มีในห้องสมุด    จะต้องช่วยเหลือ แนะนำแหล่งค้นหาข้อมูล  และติดต่อบรรณารักษ์งานตอบคำถามฯ  โดยนำผู้ใช้ไปส่งที่จุดดังกล่าว  หรือหากไม่สะดวก ต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่า จะต้องไปพบกับใคร  (ให้ระบุชื่อ  นามสกุลบรรณารักษ์ผู้ปฏิบัติงาน)   ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ไม่สับสนและเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อห้องสมุดได้

 

นอกจากนี้   ยังได้รวมถึงการจัดสถานที่ให้สะอาด  จัดเรียงวารสารอย่างถูกต้องเป็นระเบียบ  บุคลากรไม่ควรคุยกันเสียงดังจนรวบกวนการอ่านและการค้นคว้าของผู้ใช้

 

 

 

 

 

การจัดการความรู้เรื่อง การบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ “การบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น”

ในโครงการการจัดการความรู้  สำนักหอสมุดกลาง  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖

กลุ่มงานบริการทรัพยากรสารสนเทศ

ระหว่างวันที่  11  –  15  มีนาคม  2556 

—————————

 ผู้เข้าร่วม

1.    นางดวงพร                ผลมาก

2.    นางสาวอัมพร            ขาวบาง

3.    นางสาวศิวพร             ชาติประสพ

4.    นางอรุณรัตน์             พุกพญา

5.    นางสาวนัยรัตน์           เรืองวชิรารัตน์

6.    นางสาวจรีรัตน์           เจริญรักษ์

7.    นางเนตรนภิส            จิรประไพวัลย์

8.    นางสาวมณีรัตน์          กุญชรวัฒนะ

9.    นางสวลักษณ์             ทองคำ

10.  นางวนิดา                 พูลสวัสดิ์

11.  นายสามารถ              พุกพญา

12.  นายสนธิชัย               คำมณีจันทร์

13.  นายสุรพงษ์               พิมพ์โคตร

14.  นายจักรกฤษ             เปมะวิภาต

15.  นายอภิเดช               จันทร์ศิริ

16.  นางบงกชรัตน์            อุดสัย

17.  นายเดชณรงค์            อมเพชร

18.  นายเกียรติศักดิ์           หงษ์อินทร์

19.  นายกิตติศักดิ์             ก้าวกระโทก

20.  นายปิยะรักษ์             หอมหวล

21.  นายยมนา                ปริอาราม

22.  นายสุรชัย                 หาบ้านแท่น

————————————————————–

การบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

การลบ Temporary Files
1.เปิดโปรแกรม Internet Explorer ขึ้นมา แล้วคลิกเลือกที่ Tools
2.คลิกเลือกที่ Internet Options
3.คลิกเลือกไปที่ปุ่ม Delete…
4.เข้ามาที่หัวข้อ Temporary Internet Files คลิกเลือกที่ปุ่ม Delete Files…
5.จะมีหน้าต่างใหม่ขิ้นมาให้ คลิกเลือกปุ่ม Yes
6.รอให้โปรแกรมทำงานจนเสร็จ
7.ปิดโปรแกรม Internet Explorer

หมายเหตุ
ขั้นตอนที่กล่าวมาเป็นการลบไฟล์ขยะที่เกิดจากการใช้ อินเทอร์เน็ต ซึ่งถ้าหากปล่อยให้ไฟล์ขยะมีมากเกินไปจะส่งผลให้เครื่องทำงานช้า
ดังนั้น จึงควรมีการลบ Temporary Files อย่างน้อยเดือนละครั้ง