Category Archives: อื่นๆ

กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมองค์กร “บริการอย่างไรให้ประทับใจ”

การจัดการความรู้
งานเทคโนโลยีการศึกษา สำนักหอสมุดกลาง
เรื่อง “บริการอย่างไรให้ประทับใจ”
——————————————

ขั้นที่ 1
นางสาวศิริพรรณ ตันติวัชรประกาย เป็นผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  รวบรวมความรู้เรื่องการให้บริการที่ดี โดยแบ่งความรู้ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
ความรู้ชัดแจ้ง  (Explicit Knowledge)
1. เอกสารสรุปการอบรม “เทคนิคการให้บริการที่ประทับใจ”
2. เอกสาร “Service Mind นั้นสำคัญไฉน”
3. เอกสาร “การจัดการความรู้ (knowledge Management)”
4. เอกสาร “การจัดการความรู้ (knowledge Management-KM)”
ความรู้ภายในตัวคน Tacit Knowledge
ผู้ดำเนินการใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง (Story Telling) โดยให้บุคลากรงานเทคโนโลยีการศึกษา เล่าเรื่องวิธีการให้บริการของแต่ละคนที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน
ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย
1.นายเชิดชาติ  พุกพูน
2.นายทรงยศ  ขันบุตรศรี
3.นายสันติ  เกษมพันธุ์

 ขั้นที่ 2
ผู้ดำเนินการได้สอบถาม ทบทวน และให้บุคลากรแต่ละคน แสดงความคิดเห็น เสนอแนะเรื่องการให้บริการที่ดี แล้วรวบรวมข้อมูลที่ได้ (Key Concept) ทั้งหมด ดังนี้
1. จัดหาสิ่งที่ต้องการ
2.ยิ้มแย้ม
3.แสดงความสุภาพอ่อนน้อม
4.ให้ความเป็นกันเอง
5.สื่อสาร
6.ทักทาย
7.ให้ข้อมูลเบื้องต้น
8.มีมนุษยสัมพันธ์
9.อำนวยความสะดวก
10.ใส่ใจช่วยเหลือ
11.เอาใจใส่
12.จัดหาสิ่งที่ต้องการ

Continue reading

ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน

ในการประชุมครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2553 คณะกรรมการการจัดการความรู้ได้สรุปการดำเนินการและมีข้อเสนอดังนี้
1. เสนอให้มีปรับใช้กระบวนการการจัดการความรู้ในบุคลากรให้มากขึ้นโดยมีการฝึก ปฏิบัติบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรู้ในด้านการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นประจำทุกเดือนโดยกำหนดเป็นวัน “การจัดการความรู้” ทั้งที่สำนักหอสมุดกลางกับหอสมุดองครักษ์ และทำในหัวข้อเดียวกัน เพื่อนำมาส่งเสริมให้เข้มแข็งขึ้น
2. จัดอบรมโครงการการจัดการความรู้ให้แก่บุคลากร�
3. ควรประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นโดยจัดทำบอร์ดทั้งที่สำนักหอสมุดกลางและที่หอ สมุดมศว องครักษ์ นอกเหนือจาก เว็บบล็อกที่หน้าเว็บสำนักหอสมุดกลาง

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน

1. การจัดการความรู้ในปีนี้ยังอยู่ในเฉพาะบุคลากรที่เป็นคณะกรรมการ บุคลากรส่วนใหญ่ของสำนักหอสมุดกลางยังไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความ รู้
2. ในปีนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้ยังเป็นการฝึกปฏิบัติ ไม่ได้นำสิ่งที่ได้ไปปฏิบัติ ทำให้ไม่ได้วิธีปฏิบัติที่ดีที่เห็นเป็นรูปธรรม
3. การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งทิ้งช่วงเกินไป ทำให้ไม่ต่อเนื่อง
4. การทำกิจกรรมแต่ละครั้ง คณะกรรมการจะไม่ครบคณะ ผู้ที่รับผิดชอบการเป็น Facilitator และ Notetaker ทำให้ความต่อเนื่องหรือสร้างองค์ความรู้ไม่เต็มที่

แผนการจัดการความรู้

คณะกรรมการการจัดการความรู้ได้มีหนังสือถึงหัวหน้างานให้ระบุความรู้ที่ ต้องการบริหารจัดการ โดยให้ประชุมบุคลากรในงานเพื่อระดมความคิดเห็นว่ามีความรู้/ปัญหาการปฏิบัติ งานใดที่ต้องดำเนินงานจัดการ งานที่เสนอแผนการดำเนินงานมีดังนี้

1. งานบริการ ได้เสนอแผนการจัดการความรู้เรื่อง แนวทางการปฏิบัติงานจัดชั้น
2. งานวิเคราะและจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศได้เสนอแผนการจัดการความรู้ เรื่อง เทคนิคการปฏิบัติงานวิเคราะห์ฯ ให้ถูกต้องและรวดเร็ว
3. หอสมุด มศว องครักษ์ก็ได้เสนอเรื่องการรับ-ส่งเอกสารระหว่างสำนักหอสมุดกลางกับหอสมุด มศว องครักษ์
ซึ่งในการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้ที่แต่ละงานส่งมาจะมีการระบุ กิจกรรมและตัวชี้วัด เมื่อดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้จะมีการสรุปเป็นผลที่ได้เสนอคณะกรรมการการ จัดการความรู้

โครงการบรรยายและฝึกปฏิบัติ

โครงการบรรยายและฝึกปฏิบัติของกิจกรรมการจัดการความรู้ในปี 2553 มีดังนี้

1. การบรรยายพิเศษเรื่องการจัดการความรู้ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ธนรัตน์ แต้วัฒนา เป็นวิทยากร ในการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้บริหาร และคณะกรรมการการจัดการความรู้ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 เพื่อให้คณะกรรมการการจัดการความรู้ได้เข้าใจและสามารถดำเนินงานได้ในแนวทาง ที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มงาน

2. โครงการบรรยายทางวิชาการเรื่องการจัดการความรู้ โดยรัศมี ปานดิษฐ์ และบุคลากรจากสำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยบูรพา ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้และฝึกปฏิบัติในหัวข้อ “เทคนิคการให้บริการที่ผู้ใช้ประทับใจ” โดยแบ่งบุคลากรจำนวน 81 คนออกเป็น 2 กลุ่ม ทำให้เวลาในแต่ละกลุ่มน้อยเกินไป วิทยากรไม่สามารถลงรายละเอียดได้มากนัก

3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเป็นผู้อำนวยการจัดการความรู้ (Knowledge Facilitator) และผู้ที่หน้าที่จดบันทึก (Note Taker) เพื่อเป็นการฝึกปฎิบัติสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Facilitator และ Notetaker โดยมีการให้คณะกรรมการการจัดการความรู้เข้าร่วม วิทยากรคือนางสาวศิริพรรณ ตันติวัชรประกาย ฝึกปฏิบัติเป็น ประจำทุก 2 เดือน ซึ่งตามแผนการดำเนินการจะเป็นเดิอนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม และกันยายน 2553 แต่เมื่อดำเนินการจริง ได้เลื่อนจากเดือนกันยายน  เป็นสิงหาคม เนื่องจากเดือนกันยายน เป็นช่วงปิดงบประมาณ จะไม่ทันการเบิกจ่ายแต่ละเดือนที่ฝึกปฏิบัติได้มีการคิดหัวข้อในการทำดังนี้

กิจกรรมที่ 1 จัดในวันที่ 31 เดือนมีนาคม 2553 เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งแรกโดยให้มีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ การเป็น Facilitator และ Notetaker ก่อนโดยวิทยากรหลังจากนั้นจะกำหนดหัวข้อการฝึกโดยในครั้งนี้คือ  “การใช้ชีวิตอย่างพอเพียงและประหยัด” ซึ่งผู้เข้าร่วมและคณะกรรมการทุกคนจะพูดคุยถึงวิธีการใช้ชีวิตอย่างประหยัด  การออมเงินแบบต่างๆ เช่น การฝากบัญชีแบบฝากประจำ การซื้อสลากออมสิน  การซื้อประกันชีวิต การเก็บเงินใส่กระปุกออมสิน
กิจกรรมที่ 2 จัดในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ 2553  เป็นการฝึกปฏิบัติครั้งที่ 2 โดยกำหนดหัวข้อเรื่อง “การทำงานอย่างมีความสุข” ในการทำกิจกรรม ขณะที่ปฏิบัตินางสาวศิริพรรณ ตันติวัชรประกาย ซึ่งเป็นวิทยากรเป็นผู้สังเกตุการณ์ เพื่อจะได้ให้ข้อเสนอแนะได้

กิจกรรมที่ 3  จัดในวันที่ 7 กรกฎาคม 2553 เป็นการฝึกปฏิบัติครั้งที่ 3 ในหัวข้อเรื่อง “การบริการอย่างไรให้ประทับใจ”

กิจกรรมที่ 4  จัดในวันที่ 11 สิงหาคม 2553 ได้นำเรื่องการฝึกปฏิบัติเรื่อง Facilitator และ Notetaker  มาแลกเปลี่ยนว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง และจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปอย่างไร โดยตั้งเป็นหัวข้อเรื่อง “ได้อะไรกับการทำการจัดการความรู้”  ซึ่งสรุปได้ดังนี้

Facilitator

1. การเป็น Facilitator รู้ว่าทำอย่างไร เพิ่มประสบการณ์ ประมวลคำพูด ถ้าไม่ชัดเจนต้องมีการถามและสรุปความ เพื่อให้ความรู้แก่คนอื่น ๆ ทำแล้วได้อะไร
2. อย่าพูดชี้นำ ทักษะต้องมีการซักถาม +สรุปความให้ลึกที่สุด
3. สร้างความเป็นกันเอง ถ้ามีในส่วนนี้จะทำให้ได้รับข้อมูลที่เป็นจริงมากขึ้น
4. ต้องรู้หัวข้อคืออะไรและตะล่อมถามให้เข้าถึงหัวเรื่องมากที่สุด สามารถโน้มน้าว

Notetaker

1. ต้องเป็นคนเขียนไว้จับประเด็นมาสรุปความ
2. ต้องประมวลผลให้ไว
3. รู้ว่า KM  คืออะไร การทำ KM คือ การถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นให้รู้
4. ต้องจับใจความ สามารถนำไปปฎิบัติใช้งานได้ (เป็นเลขาประกัน)
5. คนที่เป็น  Facilitator และ Note มีพัฒนาการมากขึ้นจากการปฏิบัติย่อย
6. มีความรู้เกี่ยวกับ KM มากขึ้นจากไม่รู้อะไรเลย
7. รู้ว่า KM แต่ไม่รู้ว่าต้องทำอะไร พอได้เข้ามาทำ KM คือะไร ต้องหาข้อมูลประมวล note ต้องจดที่เป็นประเด็นสำคัญ

4. โครงการจัดการความรู้เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาบุคลากรหอสมุด มศว องครักษ์ให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อนำมาใช้ในการ ปฏิบัติงานและพัฒนาคุณภาพงานได้ จัดขึ้นในวันที่ 9 ธันวาคม 2552 วิทยากรคือบุคลากรหอสมุด มศว องครักษ์
5. โครงการจัดการความรู้เรื่อง การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนบล็อก (Weblog) ในงานห้องสมุด เพื่อให้บุคลากรของห้องสมุดมีความรู้ด้านการเขียนบล็อก เพื่อให้สื่อสาร นำเสนอข้อมูลข่าวสาร การตอบโต้แบบฉับพลันได้ และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของห้องสมุดและนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา คุณภาพงานบริการ จัดโดยหอสมุด มศว องครักษ์ ในวันที่ 24 มีนาคม 2553   วิทยากรคือบุคลากรหอสมุด มศว องครักษ์ มีบุคลากรเข้าร่วม 36 คน

6. โครงการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ฝีกอบรมการใช้โปรแกรม Microsoft Office กับการปฏิบัติงานในห้องสมุด ในวันที่ 30 มีนาคม 2553 วิทยากรคือบุคลากรหอสมุด มศว องครักษ์

7. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเขียนบล็อกเพื่อการจัดการความรู้ เป็นโครงการสืบเนื่องจากโครงการจัดการความรู้เรื่องการเขียนบล็อกในงานห้อง สมุด ที่หอสมุด มศว องครักษ์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2553 เพราะคณะกรรมการจัดการความรู้ในส่วนของสำนักหอสมุดกลาง ที่ได้ประชุมกันในวันที่ 5 เมษายน 2553 มีมติว่าควรจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติขึ้นอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะให้มากยิ่งขึ้น และจะได้นำความรู้ในส่วนนี้มาปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องโดยให้รวมบุคลากรที่ รับผิดชอบในด้านกิจกรรม 5ส และชมรมการอ่านเข้ามาด้วย เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่กิจกรรมต่าง ๆ ที่แสดงถึงการพัฒนาการของห้องสมุดสู่คุณภาพ  จัดในวันที่ 7 – 8  เมษายน พ.ศ. 2553 วิทยากรคือ นายทรงยศ ขันบุตรศรี ผลจากการอบรมในครั้งนี้ คณะกรรมการการจัดการความรู้ กำหนดบล็อกขึ้น 3 บล็อก คือ บล็อก KM, 5ส, และ Reader Club หลังจากนั้นได้เพิ่มบล็อก ประหยัดพลังงานขึ้น